วันศุกร์, 29 มีนาคม 2567

มรภ.สงขลา ยกเกือบ 50 ผลงานทางวิทยาศาสตร์ โชว์เวทีประชุมวิชาการระดับชาติ

มรภ.สงขลา ยกผลงานวิจัยเกือบ 50 เรื่อง โชว์ศักยภาพเวทีประชุมวิชาการระดับชาติ ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เครือข่ายสถาบันอุดมศึกษาภาคใต้ พร้อมคว้ารางวัลบทความดีเด่น นำเสนอผลงานแบบโปสเตอร์ แบบบรรยาย ระดับดี-ดีเด่น รวม 6 รางวัล

ผศ.ดร.อนุมัติ เดชนะ คณบดีคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา (มรภ.สงขลา) เปิดเผยว่า ทางคณะฯ นำทีมคณาจารย์และนักศึกษาหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาคหกรรมศาสตร์ คณิตศาสตร์ ฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา จุลชีววิทยาประยุกต์ สาธารณสุขชุมชน วิทยาศาสตร์สุขภาพและสปา เทคโนโลยีสารสนเทศ และ วิทยาการคอมพิวเตอร์ เข้าร่วมนำเสนอผลงานทางวิชาการรวม 48 เรื่อง ในการประชุมวิชาการระดับชาติ ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เครือข่ายสถาบันอุดมศึกษาภาคใต้ ครั้งที่ 5 “วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อสังคม” National Science and Technology Conference (NSCIC2020) เมื่อวันที่ 6-7 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา ณ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย วิทยาเขตนครศรีธรรมราช ไสใหญ่ โดยสามารถคว้ามาได้ 6 รางวัล ได้แก่

1. อ.เยาวลักษณ์ เตี้ยนวน และ อัยนูร ยูโซะ รางวัลบทความดีเด่น และ รางวัลนำเสนอผลงานแบบโปสเตอร์ ระดับดีเด่น ด้านการศึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จากผลงานวิจัยเรื่อง การยอมรับและการรับรู้ต่อประโยชน์กิจกรรมรับน้องของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา (2 รางวัล)

                2. นางสาววิชุดา ทุ่งยอ รางวัลนำเสนอผลงานแบบบรรยาย ระดับดีเด่น ด้านวิทยาศาสตร์ชีวภาพ/เกษตรศาสตร์ จากผลงานวิจัยเรื่อง ฤทธิ์ต้านจุลินทรีย์ของเชื้อแอคติโนมัยซีทคัดแยกได้จากตัวอย่างดินป่าชายเลนในจังหวัดสตูล

                3. นางสาวนูรมี กาเร๊าะ และอ.สุธินี หีมยิ รางวัลนำเสนอผลงานแบบโปสเตอร์ ระดับดีเด่น ด้านวิทยาศาสตร์ชีวภาพ/เกษตรศาสตร์ จากผลงานวิจัยเรื่อง การปนเปื้อนของไมโครพลาสติกในปลาผิวน้ำที่จับได้จากบริเวณชายฝั่งปะนาเระ จังหวัดปัตตานี

                4. นายนพดล ไชยเซ่ง รางวัลนำเสนอผลงานแบบบรรยาย ระดับดี ด้านวิทยาศาสตร์/วิทยาศาสตร์ประยุกต์/วิทยาศาสตร์สุขภาพ จากผลงานวิจัยเรื่อง การใช้ประโยชน์จากเมล็ดขนุนในผลิตภัณฑ์ไอศกรีมและโคนไอศกรีม

                5. นางสาวภัทรวดี เขียวจันทร์ นายธำมรงค์ จิตภักดี และ อ.สุธินี หีมยิ รางวัลนำเสนอผลงานแบบโปสเตอร์ ระดับดี ด้านวิทยาศาสตร์ชีวภาพ/เกษตรศาสตร์ จากผลงานวิจัยเรื่อง ความหลากชนิดซาร์โคดินาโปรโตซัวในแหล่งน้ำมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา