Khawchawbannews

ข่าวการศึกษา => ข่าวการศึกษา => ข้อความที่เริ่มโดย: system man ที่ กรกฎาคม 20, 2018, 03:05:40 PM

หัวข้อ: 27-28 ก.ค. นี้ สดร. ชวนจับตา 3 ปรากฏการณ์ดาราศาสตร์ ดาวอังคารตรงข้ามดวงอาทิตย์
เริ่มหัวข้อโดย: system man ที่ กรกฎาคม 20, 2018, 03:05:40 PM
27-28 ก.ค. นี้ สดร. ชวนจับตา 3 ปรากฏการณ์ดาราศาสตร์ดาวอังคารตรงข้ามดวงอาทิตย์ – จันทรุปราคาเต็มดวง - ดวงจันทร์ไกลโลกที่สุดในรอบปี

(http://www.khawchawbannews.com/board/index.php?action=dlattach;topic=404.0;attach=1934;image)

               สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สดร.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เผยคืนวันอาสาฬหบูชา เกิด 3 ปรากฏการณ์ดาราศาสตร์น่าติดตาม ตลอดคืน 27 ถึงรุ่งเช้า 28 กรกฎาคม 2561 ดาวอังคารอยู่ตรงข้ามดวงอาทิตย์ ก่อนโคจรเข้าใกล้โลกที่สุดในรอบ 15 ปี ทำให้สว่างมากและมีขนาดปรากฏใหญ่กว่าปกติ คืนเดียวกันยังเกิดจันทรุปราคาเต็มดวงครั้งที่ 2 ในรอบปี คราสเต็มดวงกินเวลา 1 ชั่วโมง 43 นาที นานที่สุดในศตวรรษที่ 21 และยังเป็นช่วงที่ดวงจันทร์ไกลโลกที่สุดในรอบปี นับว่าเป็นคืนพิเศษ สามารถเห็น “ดาวอังคารสีแดง เคียงข้างดวงจันทร์สีแดง” ได้ในคืนดังกล่าว เชิญชวนคนไทยชม 3 ปรากฏการณ์ดาราศาสตร์ ณ จุดสังเกตการณ์หลัก 4 แห่ง เชียงใหม่ นครราชสีมา ฉะเชิงเทรา สงขลา พร้อมเครือข่าย 360 แห่งทั่วประเทศ

(https://scontent.fbkk1-5.fna.fbcdn.net/v/t1.0-9/37397709_918238515049475_6571241705943597056_n.jpg?_nc_fx=fbkk1-3&_nc_cat=0&oh=84ef02ed579e5beb2f32e2d55934caff&oe=5BE805C3)

               ดร.ศรัณย์ โปษยะจินดา ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ กล่าวว่า คืนวันที่  27 กรกฎาคม 2561 เป็นช่วงเวลาที่เหมาะสมที่สุดในการสังเกตการณ์ดาวอังคาร ที่จะโคจรมาอยู่ในตำแหน่งตรงข้ามดวงอาทิตย์ อาทิตย์ หลังจากนั้นจะโคจรเข้าใกล้โลกเรื่อยๆ จนกระทั่งเข้าใกล้โลกที่สุดในวันที่ 31 กรกฎาคม 2561 ที่ระยะห่าง 57.6 ล้านกิโลเมตร จากระยะห่างเฉลี่ยประมาณ 225 ล้านกิโลเมตร เป็นการโคจรใกล้โลกที่สุดในรอบ 15 ปี นับตั้งแต่ปี 2546 ดาวอังคารจะสว่างมากและมีขนาดปรากฏใหญ่กว่าปกติ สังเกตเห็นได้หลังดวงอาทิตย์ตกลับขอบฟ้า ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ตลอดทั้งคืนไปจนถึงรุ่งเช้าในวันถัดไป

(https://scontent.fbkk1-2.fna.fbcdn.net/v/t1.0-9/37399503_918238531716140_2420023366158123008_n.jpg?_nc_fx=fbkk1-3&_nc_cat=0&oh=5b4be6b3c3af64364ae9fcdeecc8a045&oe=5BDA5E5D)

              นอกจากนี้ หลังเที่ยงคืน 27 กรกฎาคม 2561 ยังเกิดปรากฏการณ์จันทรุปราคาเต็มดวง ครั้งที่ 2 ในรอบปี 2561 คราสเต็มดวงพาดผ่านทวีปยุโรป เอเชีย ออสเตรเลีย แอฟริกา บางส่วนของทวีปอเมริกาเหนือ อเมริกาใต้ มหาสมุทรแปซิฟิก มหาสมุทรแอตแลนติก มหาสมุทรอินเดีย และขั้วโลกใต้ สำหรับประเทศไทยสามารถสังเกตการณ์ได้ทุกพื้นที่ทั่วประเทศ สังเกตได้ด้วยตาเปล่า ตั้งแต่เวลา 00.14 – 06:10 น. (ตามเวลาในประเทศไทย)

(https://scontent.fbkk1-4.fna.fbcdn.net/v/t1.0-9/37622736_918238658382794_6273444461938737152_n.jpg?_nc_fx=fbkk1-3&_nc_cat=0&oh=20c1b3b75185de338798ac48f253e403&oe=5BE75061)

              “สำหรับประเทศไทยสามารถเห็นคราสเต็มดวง ตั้งแต่เวลา 02.30 – 04.13 น. นานถึง 1 ชั่วโมง 43 นาที นับเป็นจันทรุปราคาที่เต็มดวงยาวนานที่สุดในศตวรรษที่ 21 และยังเป็นจันทรุปราคาในช่วงที่ดวงจันทร์เต็มดวงไกลโลกที่สุดในรอบปี ที่ระยะทาง 406,086 กิโลเมตร นับเป็นปรากฏการณ์จันทรุปราคาเต็มดวงที่ดวงจันทร์สีแดงอิฐมีขนาดปรากฏเล็กกว่าปกติเล็กน้อย” ดร.ศรัณย์ ย้ำความพิเศษของปรากฏการณ์ดาราศาสตร์ครั้งนี้

(https://scontent.fbkk1-5.fna.fbcdn.net/v/t1.0-9/37404821_918238618382798_7926437809206853632_n.jpg?_nc_fx=fbkk1-3&_nc_cat=0&oh=b4037d57bc67c7adb701c2e58714d040&oe=5BCB23D7)

               สดร. กำหนดจัดกิจกรรมสังเกตการณ์ดาวอังคารใกล้โลกและจันทรุปราคาเต็มดวง คืนวันที่ 27 ถึงวันที่ 28 กรกฎาคม 2561  เชิญชวนผู้สนใจเข้าร่วมกิจกรรมโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ตั้งแต่เวลา 18.00 – 04.30 น. ณ จุดสังเกตการณ์หลัก ได้แก่
1) เชียงใหม่ : อุทยานดาราศาสตร์สิรินธร ต.ดอนแก้ว อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่ โทร. 081-8854353
   2) นครราชสีมา : หอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา นครราชสีมา โทร. 086-4291489
3) ฉะเชิงเทรา : หอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา ฉะเชิงเทรา โทร. 084-0882264
4) สงขลา : ลานชมวิวนางเงือก หาดสมิหลา จ.สงขลา โทร. 095-1450411
 และเครือข่ายดาราศาสตร์           360 แห่งทั่วประเทศ ตรวจสอบรายละเอียดได้ทาง www.NARIT.or.th นอกจากนี้ คืนดังกล่าวยังมีวัตถุท้องฟ้ามากมายให้สังเกตการณ์ อาทิ ดาวศุกร์ในช่วงเวลาหัวค่ำปรากฏทางทิศตะวันตก ตามด้วยดาวพฤหัสบดีปรากฏทางทิศใต้ในมุมสูงบริเวณกลุ่มดาวคันชั่ง และดาวเสาร์ปรากฏทางทิศตะวันออกเฉียงใต้บริเวณกลุ่มดาวคนยิงธนู ตลอดจนจัดกิจกรรมทางดาราศาสตร์อื่น ๆ ที่น่าสนใจ เช่น แนะนำการดูดาวเบื้องต้น เรียนรู้ท้องฟ้าและกลุ่มดาวต่าง ๆ รวมทั้งถ่ายทอดสดปรากฏการณ์จันทรุปราคาเต็มดวง ตั้งแต่ 00.00 – 04.30 น. อีกด้วย


(https://scontent.fbkk1-4.fna.fbcdn.net/v/t1.0-9/37420818_918238035049523_2199891899802714112_o.jpg?_nc_fx=fbkk1-3&_nc_cat=0&oh=4b6ec3a23cc260ad8c14e1caa355dd3d&oe=5BCF4F28)

กลุ่มงานประชาสัมพันธ์ สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน)
โทร. 053-121268-9 ต่อ 210-211 , 081-8854353 โทรสาร 053-121250
E-mail: pr@narit.or.th     Website : www.narit.or.th
Facebook : www.facebook.com/NARITpage
Twitter : @N_Earth ,  Instagram : @NongEarthNARIT
Call Center กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โทร. 1313


(https://scontent.fbkk1-1.fna.fbcdn.net/v/t1.0-9/37530081_918238358382824_3900392833814626304_o.jpg?_nc_fx=fbkk1-3&_nc_cat=0&oh=519a0b46044fb583ab56536350a861ed&oe=5BC5E304)

ภาพถ่ายดาวอังคาร ระหว่างเดือนมิ.ย.-ก.ค 2561 จากกล้องโทรทรรศน์ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 0.7 เมตร ติดตั้ง ณ หอดาวดูดาวเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบพระชนมพรรษา จ.สงขลา ดาวอังคารมีขนาดปรากฏใหญ่ขึ้นอย่างชัดเจน เนื่องจากเป็นช่วงที่กำลังโคจรเข้ามาใกล้โลก (ภาพ: สดร.)

(https://scontent.fbkk1-6.fna.fbcdn.net/v/t1.0-9/37573117_918238381716155_1215289970252578816_o.jpg?_nc_fx=fbkk1-3&_nc_cat=0&oh=b1f6dac96712ce3aca9adff05516ef38&oe=5BDC40FE)

ภาพถ่ายจันทรุปราคาช่วงกึ่งกลางคราส ถ่ายเมื่อวันที่ 31 ม.ค. 2561 เกิดปรากฏการณ์จันทรุปราคาครั้งแรกในรอบปี (ภาพ: สดร.)


(https://scontent.fbkk1-3.fna.fbcdn.net/v/t1.0-9/37399847_918238498382810_7677085515673239552_n.jpg?_nc_fx=fbkk1-3&_nc_cat=0&oh=fb49617c2293f8a9b2fafa50b937c20c&oe=5BCD55C7)

ภาพเปรียบเทียบขนาดปรากฏของดวงจันทร์เต็มดวงในช่วงใกล้ - ไกล โลกที่สุดในรอบปี 2560
สำหรับปี 2561 ความพิเศษ คือ ช่วงที่ดวงจันทร์โคจรเข้าใกล้และไกลโลกที่สุดในรอบปี
ตรงกับช่วงที่เกิดปรากฏการณ์จันทรุปราคาเต็มดวงพอดี
หากถ่ายภาพแล้วนำมาเปรียบเทียบกันจะเป็นภาพดวงจันทร์สีแดงอิฐ ที่สวยงามและแตกต่างจากทุกปีที่ผ่าน (ภาพ: สดร.)


(https://scontent.fbkk1-3.fna.fbcdn.net/v/t1.0-9/37395442_918238335049493_6226909934395588608_o.jpg?_nc_fx=fbkk1-3&_nc_cat=0&oh=52b616a1bc24f28dfa3ed864ec2499cc&oe=5BE102EB)

(https://scontent.fbkk1-5.fna.fbcdn.net/v/t1.0-9/37589502_918238208382839_5431649129828712448_o.jpg?_nc_fx=fbkk1-3&_nc_cat=0&oh=f966514b00e6e25c6c2ab36034ec6341&oe=5BD13416)

(https://scontent.fbkk1-2.fna.fbcdn.net/v/t1.0-9/37524178_918237995049527_8655740715109711872_o.jpg?_nc_fx=fbkk1-3&_nc_cat=0&oh=1c39f06eb7cb8ca113abd6b3ba08e870&oe=5BC79D95)

(https://scontent.fbkk1-4.fna.fbcdn.net/v/t1.0-9/37541976_918238048382855_8462045803253334016_o.jpg?_nc_fx=fbkk1-3&_nc_cat=0&oh=a296311909f7c85641454b5182db4d2a&oe=5BD9E977)

(https://scontent.fbkk1-1.fna.fbcdn.net/v/t1.0-9/37417440_918238681716125_3038322296835014656_o.jpg?_nc_fx=fbkk1-3&_nc_cat=0&oh=d3a272e030947d89654198f3de7c8eb7&oe=5BDC255A)

(https://scontent.fbkk1-6.fna.fbcdn.net/v/t1.0-9/37584496_918238128382847_6642693971585794048_o.jpg?_nc_fx=fbkk1-3&_nc_cat=0&oh=8fc3480161bcb268e8fed7c399fe0bbe&oe=5BD90968)

(https://scontent.fbkk1-4.fna.fbcdn.net/v/t1.0-9/37512073_918238225049504_4178798485161639936_n.jpg?_nc_fx=fbkk1-3&_nc_cat=0&oh=8abee753fb72da55f140518c0aa34806&oe=5C11005C)

(https://scontent.fbkk1-6.fna.fbcdn.net/v/t1.0-9/37592913_918238148382845_898671857434099712_o.jpg?_nc_fx=fbkk1-3&_nc_cat=0&oh=263dc929de1b7324bce06835ccf8f218&oe=5C136978)

(https://scontent.fbkk1-6.fna.fbcdn.net/v/t1.0-9/37400344_918238721716121_3329772833306836992_o.jpg?_nc_fx=fbkk1-3&_nc_cat=0&oh=a8a5d5c79d7d968047531a4320678b8b&oe=5C141C60)