Khawchawbannews

ข่าวการศึกษา => ข่าวการศึกษา => ข้อความที่เริ่มโดย: system man ที่ กันยายน 27, 2018, 09:23:54 AM

หัวข้อ: ครุศาสตร์ มรภ.สงขลา โชว์ศักยภาพนักศึกษา เผยตัวเลขสอบบรรจุครูคืนถิ่น-ครูผู้ช่วย
เริ่มหัวข้อโดย: system man ที่ กันยายน 27, 2018, 09:23:54 AM
ครุศาสตร์ มรภ.สงขลา โชว์ศักยภาพนักศึกษา เผยตัวเลขสอบบรรจุครูคืนถิ่น-ครูผู้ช่วย-พนักงานราชการ รวมกว่า 190 คน หรือเกือบ 80% ตอกย้ำความโดดเด่นด้านการผลิตครู

(http://www.khawchawbannews.com/board/index.php?action=dlattach;topic=445.0;attach=2062;image)

              ดร.มนตรี เด่นดวง คณบดีคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา (มรภ.สงขลา) เปิดเผยว่า จากการที่นักศึกษาของคณะครุศาสตร์ เข้าสมัครสอบในโครงการผลิตครูเพื่อพัฒนาท้องถิ่น หรือ ครูคืนถิ่น ประจำปี 2561 ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อคัดเลือกคนเก่งมาเป็นครู เมื่อสำเร็จการศึกษาจะได้รับการบรรจุเป็นข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในสำกัดสำนักงานคณะกรรมการขั้นพื้นฐาน สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย และกรุงเทพมหานคร ผลปรากฏว่านักศึกษาของทางคณะฯ ผ่านการสอบและได้รับการบรรจุจำนวน 40 คน แบ่งออกเป็นโปรแกรมวิชาภาษาไทย 6 คน วิทยาศาสตร์ทั่วไป 11 คน การศึกษาปฐมวัย 4 คน คณิตศาสตร์ 9 คน และ สังคมศึกษา 10 คน

(https://scontent.fbkk4-2.fna.fbcdn.net/v/t1.0-9/42660561_978041102402549_7468283584634159104_n.jpg?_nc_cat=104&_nc_eui2=AeGph0zQAhbNSyVLEeK5ZHgNn5NJQQDOCdFAEwyLSdnrsn9RWvLY89HCOOLQqTrPmjrl5gE4Ej3cmnH9tnWFchQeqhFmFZgAjewMzJ0ak0G-JA&oh=15d3439ad571c6db334da773ea832596&oe=5C1E2DEC)

               นอกจากนั้น นักศึกษาจากโปรแกรมวิชาต่างๆ ของคณะครุศาสตร์ มรภ.สงขลา ซึ่งเข้าสอบแข่งขันในตำแหน่งครูผู้ช่วย (รอบทั่วไป) ปี 2561 สามารถสอบผ่านและได้รับการขึ้นบัญชี รวม 150 คน โดยเฉพาะโปรแกรมวิชาภาษาอังกฤษ ที่สอบผ่าน 30 คน จากนักศึกษาในชั้นเรียนทั้งหมด 36 คน (คิดเป็นร้อยละ 83.33) ซึ่ง น.ส.อำไพพิชญ์ ยืนยง สอบได้ลำดับที่ 2 ประจำ จ.สตูล ภาษาไทย สอบผ่าน 30 คน (จาก 43 คน) โดย นายวิศวะ กลับกลาย สอบได้ลำดับที่ 1 จ.ปัตตานี วิทยาศาสตร์ทั่วไป สอบผ่าน 43 คน (จาก 68 คน) นายณัฐกิตติ์ เทพสุวรรณ์ สอบได้ลำดับที่ 3 จ.ตรัง ส่วนโปรแกรมวิชาการศึกษาปฐมวัย สอบผ่าน 17 คน (จาก 35 คน) โดย น.ส.นฤมล สุขเทพ สอบได้ลำดับที่ 1 จ.ปัตตานี น.ส.มารียา บุญธรรม สอบได้ลำดับที่ 1 จ.นครศรีธรรมราช และ น.ส.ศวิตา ไกรเทพ สอบได้ลำดับที่ 2 จ.ตรัง คณิตศาสตร์ สอบได้ 17 คน (จาก 26 คน) สังคมศึกษา สอบได้ 13 คน (จาก 32 คน) และนักศึกษาโปรแกรมวิชาภาษาไทย สอบได้พนักงานราชการ สอนระดับประถมที่ ร.ร.เทศบาล สิงหนคร อีก 1 คน รวมนักศึกษาที่ขึ้นบัญชีและสอบบรรจุได้ คิดเป็นร้อยละ 79.58

(https://scontent.fbkk4-2.fna.fbcdn.net/v/t1.0-9/42738767_978040992402560_1585005969182556160_n.jpg?_nc_cat=100&_nc_eui2=AeHL2g21oHp7AS-Q7qwzrcrF1UCbQbPRaZN51TnrhiuPL9AateaqaFzVfl46QJ55pESE6Q0jNF0CvCJDe3_Pyr7E64fU7iARUnlCml6X7gGZuA&oh=1d37b55295c675254e3ca07c402ea60d&oe=5C1868F6)

               ดร.มนตรี กล่าวว่า คณะครุศาสตร์มีภารกิจหลักคือผลิตบัณฑิตพัฒนาครูและบุคลากรทางการ ศึกษาวิจัยทางการศึกษาบริการวิชาการแก่สังคม และสืบสานศิลปะและวัฒนธรรมไทย นอกจากนี้ ยังมีหน่วยงานอื่นๆ ที่ใช้เป็นสถานที่ฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูของนักศึกษา ได้แก่ บ้านสาธิตเด็กปฐมวัย โรงเรียนสาธิตสถาบันราชภัฏสงขลา และศูนย์การศึกษาพิเศษ ซึ่งคณะครุศาสตร์มีพัฒนาการควบคู่กับการพัฒนาการของมหาวิทยาลัยมาตั้งแต่ พ.ศ. 2462 โดยมีฐานะเป็นหมวดวิชาการศึกษาของโรงเรียนฝึกหัดครูมลฑลนครศรีธรรมราช (ตั้งอยู่ ณ จ.สงขลา) ต่อมา พ.ศ. 2482 เปลี่ยนเป็นโรงเรียนฝึกหัดครูประกาศนียบัตรจังหวัด (ว.) และย้ายมาเรียนที่ ต.คอหงส์ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา ในปี พ.ศ. 2490 และเปลี่ยนฐานะจากโรงเรียนฝึกหัดครูประกาศนียบัตรจังหวัดเป็นโรงเรียนฝึกหัดครู

ต่อมาในปี พ.ศ. 2499 โรงเรียนฝึกหัดครูมูลสงขลา ย้ายมาอยู่ที่หมู่ที่ 4 ต.เขารูปช้าง อ.เมือง จ.สงขลา และยกฐานะเป็นวิทยาลัยครูสงขลาเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2504 ขยายชั้นเรียนในระดับ ป.กศ.สูง และรวมกิจการโรงเรียนสตรีฝึกหัดครูเข้ามาไว้ด้วยกัน ในวันที่ 1 พฤษภาคม 2510 จากนั้น พ.ศ. 2518 ยกฐานะเป็นคณะวิชาครุศาสตร์ หน่วยงานระดับคณะวิชาของวิทยาลัยครูสงขลา จัดการศึกษาถึงระดับปริญญาตรี และยกเลิกคำว่าคณะวิชา เป็นคณะ และเปลี่ยนผู้บริหารคณะ จากหัวหน้าคณะวิชา เป็นคณบดี เมื่อวันที่ 24 ตุลาคม 2538 ในปี พ.ศ. 2547 เปลี่ยนเป็นคณะครุศาสตร์ จนถึงปัจจุบัน