Khawchawbannews

ข่าวการศึกษา => ข่าวการศึกษา => ข้อความที่เริ่มโดย: system man ที่ กันยายน 27, 2018, 11:14:25 AM

หัวข้อ: 3 ทศวรรษ ‘พัฒนาชุมชน’ มรภ.สงขลา ผนึก 20 องค์กรเครือข่ายปั้นนักพัฒนารุ่นใหม่
เริ่มหัวข้อโดย: system man ที่ กันยายน 27, 2018, 11:14:25 AM
3 ทศวรรษ ‘พัฒนาชุมชน’ มรภ.สงขลา ผนึก 20 องค์กรเครือข่ายปั้นนักพัฒนารุ่นใหม่

(http://www.khawchawbannews.com/board/index.php?action=dlattach;topic=447.0;attach=2066;image)


               พัฒนาชุมชน มรภ.สงขลา ครบรอบ 3 ทศวรรษ ลงนามความร่วมมือ 20 องค์กรเครือข่าย ขับเคลื่อนการทำงาน เดินหน้าสร้างนักพัฒนารุ่นใหม่ สอดคล้องบริบทพื้นที่

(https://scontent.fbkk4-2.fna.fbcdn.net/v/t1.0-9/42608029_978178855722107_985489510311657472_n.jpg?_nc_cat=105&_nc_eui2=AeEq07u3lNN6L4yEa_EJcYII9z6o57_yYqR4jHTEoQbu1mVw2fDMuUOssxzFSR35kjOkpF_wB_7pNB71zM9V5oqH3bpRQl3dUirkIDuYU7gUjg&oh=bd15b513ca31b12083ee8f045d1d2b21&oe=5C21B730)

                นายณัฏฐาพงศ์ อภิโชติเดชาสกุล ประธานโปรแกรมวิชาการพัฒนาชุมชน คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา (มรภ.สงขลา) เปิดเผยถึงงานสัมมนาทางวิชาการ 3 ทศวรรษ พัฒนาชุมชนราชภัฏสงขลา เมื่อเร็วๆ นี้ว่า หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาชุมชน เปิดการเรียนการสอนมาครบ 3 ทศวรรษ โดยตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาได้ทำหน้าที่ใน 4 มิติ ทั้งการเรียนการสอน การวิจัย การบริการวิชาการ และ ทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม จนแพร่หลายและเป็นที่ยอมรับของสังคม ดังนั้น เมื่อหลักสูตรฯ กำลังก้าวเข้าสู่ทศวรรษที่ 4 จึงมีแนวคิดที่จะจัดสัมมนาทางวิชาการ เนื่องในโอกาสครบรอบ 3 ทศวรรษฯ เพื่อระดมความเห็น แลกเปลี่ยนองค์ความรู้ด้านการพัฒนาชุมชน ภายใต้แนวคิด “3 ทศวรรษพัฒนาชุมชนราชภัฏสงขลา 30 ปีแห่งการเรียนรู้ มิตรภาพ และเครือข่าย” ด้วยการเชิญภาคีเครือข่ายด้านการพัฒนาชุมชน สังคม ท้องถิ่น มาร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และลงนามความร่วมมือในการขับเคลื่อนองค์ความรู้ด้านการพัฒนาชุมชน

(https://scontent.fbkk4-2.fna.fbcdn.net/v/t1.0-9/42625094_978178849055441_2356508882978734080_n.jpg?_nc_cat=105&_nc_eui2=AeGA0eL2-4c1ZdtCO4axGGjcLmhCrugxTQXlgvvCDPGyhnIrLY5l7NvIWmETe7u_yMBszqz6k6Fz3u6OHxtEKb60237Wxtr2TeRoaB9JfK1sWw&oh=bee2bc19606419f1765fe622a89b027b&oe=5C1B8685)

                นายณัฏฐาพงศ์ กล่าวว่า สาระสำคัญของบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ มีดังต่อไปนี้ 1. แลกเปลี่ยนและพัฒนาหลักสูตรในงานพัฒนาชุมชน เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์และความต้องการของพื้นที่ 2. จัดทำวิจัยด้านการพัฒนาชุมชน เพื่อพัฒนาองค์ความรู้ให้สอดคล้องกับบริบทของพื้นที่และเหมาะสมกับสถานการณ์ 3. ร่วมมือบุคลากรในงานพัฒนาชุมชน ทั้งนักศึกษาในสังกัดของ มรภ.สงขลา รวมถึงบุคลากรและกลุ่มเป้าหมายในความรับผิดชอบของภาคีเครือข่ายด้านการพัฒนาชุมชน สังคม และท้องถิ่น เพื่อให้สามารถทำหน้าที่นักพัฒนาได้อย่างมีประสิทธิภาพ และ 4. ดำเนินกิจกรรมอื่นๆ ที่มหาวิทยาลัยมีความคิดเห็นเพิ่มเติมร่วมกับภาคีเครือข่ายด้านการพัฒนาชุมชน สังคม และท้องถิ่น ในการพัฒนากิจการด้านงานพัฒนาชุมชนที่เป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติในอนาคต

(https://scontent.fbkk4-2.fna.fbcdn.net/v/t1.0-9/42652495_978178925722100_6454101145869615104_n.jpg?_nc_cat=109&_nc_eui2=AeGVcYjvGcq2e29SllZWf9VVP78V-3FZ3r8pResw0PqSn1FGHuX7beGtsh1ieuBguXp4zgAoJksOm8T9kVOObyTyfmcC6YWOy8g_vlmtS7IPkQ&oh=1a518429e4263ab790bea94193b663b2&oe=5C579FB1)

                ด้าน ดร.อัจฉรา วงศ์วัฒนามงคล รองอธิการบดี มรภ.สงขลา ซึ่งเข้าร่วมงานสัมมนาในครั้งนี้ด้วย กล่าวว่า หลักสูตรการพัฒนาชุมชนมีความสำคัญอย่างยิ่งในปัจจุบัน เพราะเป็นหลักสูตรที่มีภูมิรู้เกี่ยวกับการทำงานชุมชนอย่างเข้มข้น อีกทั้งยังเป็นหลักสูตรหนึ่งที่สะท้อนให้เห็นถึงอัตลักษณ์ของมหาวิทยาลัยที่มุ่งหวังเป็นสถาบันอุดมศึกษาเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ในอนาคตเราจำเป็นที่ต้องขับเคลื่อนงานพัฒนาชุมชนแบบพหุภาคี เพื่อให้สามารถตอบโจทย์การพัฒนาที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว

                ขณะที่ นายชาคริต โภชะเรือง ผู้จัดการมูลนิธิชุมชนสงขลา ภาคีเครือข่ายด้านการพัฒนาชุมชนฯ กล่าวว่า การก้าวสู่ทศวรรษที่ 4 ของหลักสูตรการพัฒนาชุมชน มรภ.สงขลา ได้สร้างความเคลื่อนไหวเชิงรุกด้วยการทำงานในรูปแบบเครือข่ายกับภาคีที่เกี่ยวข้องร่วม 20 องค์กร ชักชวนมาลงนามความร่วมมือ (MOU) แสดงให้เห็นความมุ่งมั่นตั้งใจที่จะจับมือทำงานร่วมกัน เพื่อสร้างบัณฑิตนักพัฒนาชุมชนรูปแบบใหม่ที่มีความสามารถ มีศักยภาพในการทำงานด้านการพัฒนาชุมชนให้เท่าทันกับการเปลี่ยนแปลง

                นายอภิศักดิ์ ทัศนี ผู้ประสานงานเครือข่ายเยาวชนพลเมืองสงขลา (ศิษย์เก่าพัฒนาชุมชน มรภ.สงขลา) กล่าวถึงการพัฒนาชุมชนว่า เป็นศาสตร์วิชาที่ใกล้ชิด คลุกคลีกับความเป็นมนุษย์มากที่สุด ปรัชญาพัฒนาชุมชนคือการเคารพ เชื่อมั่นในความเป็นมนุษย์ที่มีสิทธิ เสรีภาพ ความเสมอภาค เเละเชื่อมั่นว่ามนุษย์พัฒนาได้เมื่อเขาได้รับโอกาส วิชานี้ สาขานี้ จึงเป็นเรื่องของความเป็นมนุษย์โดยเเท้จริง ตนทำงานเรื่องหาดทรายมาตั้งแต่ปี 2555 มีสงขลาฟอรั่มเป็นพี่เลี้ยงที่ช่วยให้เรียนรู้จากเรื่องจริงสถานการณ์จริง ลงมือทำ เกิดสำนึกพลเมืองที่ติดตัวเรามา จุดมุ่งหมายของการเรียนในศาสตร์แขนงนี้ไม่ได้อยู่ที่ความรู้ในหัวสมอง เเต่เป็นจิตใจของนักพัฒนาชุมชนที่จะยกระดับงอกงาม เป็นมนุษย์ที่เห็นคุณค่าของตนเอง ผู้อื่น เเละเข้าใจความเป็นชุมชนทุกๆ รูปเเบบ ดังนั้น การเรียนพัฒนาชุมชนคือการกลับมารับใช้ชุมชน สังคม รับใช้ผู้อื่นด้วยหัวใจที่ใหญ่ขึ้นเเละมีความเป็นพลเมือง