วันจันทร์, 14 ตุลาคม 2567

“กระชาย” สรรพคุณ-ประโยชน์ ใช้เป็นยาอายุวัฒนะ บำรุงกำลัง และชะลอความแก่

“กระชาย” สรรพคุณ-ประโยชน์ ใช้เป็นยาอายุวัฒนะ บำรุงกำลัง และชะลอความแก่

      สมุนไพรไทยลักษณะเทียบเท่าโสมเกาหลีเลยทีเดียว คือ กระชาย ในปี พ.ศ.2559 นี้กระทรวงสาธารณสุขมีความประสงค์จะผลักดันสมุนไพรไทยสู่ตลาดโลก โดยมีแผนจะพัฒนาผลิตและแปรรูปสมุนไพรไทยให้เป็นยา เครื่องสำอาง และอาหารเสริมสุขภาพ เพื่อผลักดันสู่ตลาดโลกในยุทธศาสตร์พัฒนาไทยเป็นศูนย์กลางสุขภาพของเอเชีย โดยเลือกฤทธิ์ตามที่ตลาดโลกต้องการ คือ ชะลอแก่ บำรุงกำลัง และลดความอ้วน พระเอกของเราในวันนี้คือกระชาย (เหลือง) ธรรมดา อย่าเพิ่งดูถูกไม้พื้นๆ หน้าจืดๆ อย่างนี้ เพราะพระเอกของเรามีคุณสมบัติที่ตลาดโลกต้องการสองประการแรก คือ ชะลอความแก่และบำรุงกำลัง

    ชื่อและถิ่นกำเหนิด กระชายเป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดในเขตเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และเอเชียใต้ ชื่อทางวิทยาศาสตร์ของกระชาย คือ Boesenbergia rotunda (L.) Mansf. วงศ์ขิง Zingiberaceae ชื่อท้องถิ่นมีมากมาย ได้แก่ กะแอน ละแอน (ภาคเหนือ) ขิงทราย (มหาสารคาม) ว่านพระอาทิตย์ (กรุงเทพฯ) จี๊ปู  ซีฟู (ฉาน-แม่ฮ่องสอน) เป๊าะซอเร้าะ, เป๊าะสี่ (กะเหรี่ยง – แม่ฮ่องสอน) หลายคนอาจจะยังไม่รู้ว่านอกจากกระชายจะเป็นสมุนไพรที่มีสรรพคุณกระตุ้นความเป็นชาย เป็นยาบำรุงกำลังคล้ายๆ กับโสมของเกาหลีแล้ว กระชายยังมีสรรพคุณดีๆ อีกมากมาย ที่อยากให้ลอง เพราะกระชายอุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุมากมาย ทั้ง วิตามินบี และวิตามินบี 12 และที่กระชายมีสรรพคุณทางยาก็เพราะว่ามีสารเคอร์คูมิน ที่ช่วยในการต้านการอักเสบ และยังไปยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อโรคได้อีกด้วย

     “กระชาย” สรรพคุณดีเทียบเท่าโสมเกาหลี “กระชาย” ได้ชื่อว่าเป็น “โสมไทย” ในวงการแพทย์แผนไทย เพราะเป็นพืชสมุนไพรของไทยที่มีสรรพคุณคล้ายกับ “โสมเกาหลี” และยังมีรูปร่างลักษณะคล้ายคลึงกับโสมด้วย สรรพคุณโดดเด่นที่เหมือนกันคือการบำรุงกำลังและเสริมสมรรถภาพทางเพศ อีกทำยังมีการเจริญเติบโตใกล้เคียงกัน นอกจากความโดดเด่นเรื่องสรรพคุณที่เหมือนกับโสมแล้ว กระชายยังจัดว่าเป็น “พืชมงคล” เนื่องจากสมัยโบราณหมอยาจะนำกระชายมารักษาคนเฒ่าคนแก่แล้วหายดีเป็นปลิดทิ้ง กระชายจึงถือเป็นพืชสมุนไพรมงคลที่เชื่อว่านำมาปลูกไว้หน้าบ้านจะช่วยปัดเป่าโรค ทำให้คนในบ้านไร้โรคภัยไข้เจ็บ เป็นสิริมงคลให้กับผู้ที่อยู่ในบ้าน ชนิดของกระชาย “กระชาย” ถูกจำแนกออกเป็น 3 ชนิด คือ กระชายดำ กระชายแดง และกระชายเหลือง ซึ่งหลายเมนูอาหารไทยเรา มีกระชายเป็นส่วนประกอบโดยเฉพาะเมนูแกงป่า หรือน้ำพริกต่างๆ ที่ต้องการความเผ็ด ร้อน อีกทั้งสมุนไพรอย่างกระชายมีกลิ่นหอมเฉพาะตัว สามารถใช้เป็นผักจิ้มได้โดยตรง และช่วยดับกลิ่นขาวของอาหารจำพวกปลา เนื้อ ได้ดีอีกด้วย

     สำหรับกระชายที่นิยมใช้กันก็คือ “กระชายเหลือง” และ “กระชายดำ” ซึ่งหากเทียบสรรพคุณทางยาแล้ว กระชายเหลืองนั้นมีมากกว่ากระชายดำ แต่ด้วยกระชายดำถูกใช้ในผลิตภัณฑ์บำรุงร่างกาย และส่งเสริมการตลาดมาก จึงทำให้คนส่วนใหญ่เข้าใจว่ากระชายดำมีคุณค่า ประโยชน์มากกว่ากระชายเหลือง ดังนั้นการทานกระชายเหลืองจากเครื่องแกง หรือในเมนูอาหารต้มๆ เป็นวิธีที่ง่ายแสนง่าย และได้ประโยชน์ของกระชายแบบธรรมชาติสุดๆ การใช้งานตามภูมิปัญญา เหง้าและรากของกระชายมีรสเผ็ดร้อนขม หมอยาพื้นบ้านในประเทศไทยใช้เหง้าและรากของกระชายแก้ปวดมวนในท้อง แก้ท้องอืดเฟ้อ แก้ลมจุกเสียด แก้โรคกระเพาะ รักษาแผลในปาก แก้ตกขาว กลาก เกลื้อน ใช้เมื่อมีอาการปวดข้อเข่า ใช้เป็นยาอายุวัฒนะ บำรุงกำลัง และใช้บำบัดโรคกามตายด้านอีกด้วย

20 ประโยชน์และสรรพคุณของ “กระชาย” กระชายช่วยลดความดันโลหิตสูง และทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดคงที่ กระชายช่วยรักษาแผลร้อนใน แผลในปาก ฝ้าขาวในปาก และปากนกกระจอก สรรพคุณกระชายช่วยแก้อาการท้องร่วง ท้องเสีย อาหารเป็นพิษ กระชายช่วยป้องกันโรคกระดูกพรุน บำรุงกระดูกให้แข็งแรงไม่เปราะง่าย กระชายมีสรรพคุณช่วยแก้โรคกระเพาะอักเสบ กระชายเป็นยาเสริมสมรรถภาพทางเพศ บำรุงกำลังวังชาให้แก่ท่านชาย กระชายช่วยให้เลือดไปเลี้ยงสมองได้ดี จึงช่วยบำรุงประสาท ประโยชน์ของกระชายบำรุงตับ ไต และหัวใจให้แข็งแรง กระชายช่วยให้ปัสสาวะง่าย และช่วยกระตุ้นให้เลือดไหลเวียนไปเลี้ยงอวัยวะเพศได้ดี

กระชายมีสรรพคุณช่วยให้ลำไส้อักเสบหายเร็วขึ้น เนื่องจากมีฤกธ์แก้อักเสบ กระชายช่วยแก้หน้ามืดเป็นลม หายใจติดขัด บำรุงกำลังเมื่อมีไข้หวัด ประโยชน์ขแงกระชายช่วยป้องกันไทรอยด์เป็นพิษ กระชายช่วยต้านเชื้อราบนผิวหนังลดอาการอักเสบของผิวหนังที่ติดเชื้อ ลดอาการคันบนผิวหนังที่แห้ง กระชายช่วยต้านการเสื่อมของกระดูกอ่อนได้เนื่องจากมีแคลเซียมสูง กระชายช่วยเผาผลาญไขมันช่วยในเรื่องของการลดความอ้วนได้ สรรพคุณของกระชายช่วยกระตุ้นระบบขับถ่าย เป็นยาระบายอ่อนๆ กระชายช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดเซลล์มะเร็งได้ กระชายแก้อาการปวดเมื่อยร่างกาย ลดอาการข้อกระดูกอักเสบได้ ประโยชน์ของกระชายช่วยรักษาริดสีดวงทวาร กระชายช่วยถอนพิษจากอาหารเป็นพิษ ลำไส้อักเสบ และโรคบิดได้

สกัดเป็นผงกระชาย ดื่มน้ำกระชาย สดชื่นแบบได้สุขภาพที่ดี แม้ว่า “กระชาย” จะมีสรรพคุณที่ดีต่อร่างกายมากมาย ทั้งช่วยรักษาโรคความดัน ช่วยบำรุงเลือด ช่วยเพิ่มพลังทางเพศ และยังช่วยเผาผลาญไขมันได้ แต่ก็ไม่ใช่เรื่องง่ายเลยที่จะกินกระชายสดเปล่าๆ ได้ เพราะรสและกลิ่นที่ค่อนข้างฉุนของกระชายทำให้กินยาก จึงอยากแนะนำเมนูเครื่องดื่ม

     “น้ำกระชาย” แบบที่ทำกินเองที่บ้านได้ง่ายๆ เพียงผสมน้ำผึ้ง มะนาว เพิ่มรสชาติและความหอมหวานอมเปรี้ยวเข้าไปในน้ำกระชายให้กินง่ายดื่มง่ายขึ้น วิธีทำน้ำกระชายก็ไม่ยาก เพียงแค่เตรียมกระชายสด น้ำผึ้ง น้ำมะนาว และน้ำเปล่าต้มสุกที่ทิ้งไว้จนเย็น จากนั้นให้นำกระชายมาล้างให้สะอาด ตัดรากออก และอย่าลืมตัดหัวตัดท้ายทิ้งไปด้วย หรือจะขูดเปลือกทิ้งก็ได้แล้วแต่ความชอบ อยากให้มีกากมากหรือน้อย จากนั้นนำมาหั่นเป็นท่อนๆ เพื่อให้ง่ายต่อการนำมาปั่น เมื่อปั่นจนได้เนื้อเนียนของกระชายแล้วให้เตรียมผ้าขาวบาง รองด้วยกระชอน แล้วใส่ในโถปั่นอีกรอบ ผสมกับน้ำเปล่าต้มสุกพอประมาณ เมื่อปั่นจนละเอียดแล้วให้นำมาผสมกับน้ำมะนาว น้ำผึ้ง คนให้เข้ากันจนได้รสชาติที่ต้องการ หากกลัวว่ากลิ่นกระชายจะแรงไป ก็สามารถใช้ใบบัวบก หรือใบโหระพา มาปั่นรวมกันเพื่อเพิ่มกลิ่นและรสที่แตกต่าง ตามแต่ความชอบของแต่ละคน สามารถปรับสูตรได้ตามชอบ ให้รสชาติอร่อยได้ประโยชน์ของกระชายแบบไม่มีรสฝาดหรือกลิ่นที่ฉุนอีกต่อไป

    ต้นกระชาย แม้กระชายมีสรรพคุณดี แต่ผลข้างเคียงก็มี…อย่าได้ละเลย แม้สมุนไพรฉายา “โสมไทย” จะมีข้อดีมากมาย อีกทั้งยังราคาถูกกว่าโสมเกาหลี แต่กระชายก็มีโทษจากผลข้างเคียงหากกินมากเกินไป โดยเฉพาะกระชายที่ออกฤทธิ์แรงอย่าง “กระชายดำ” ซึ่งจะทำให้เกิดอาการเหงือกบวม เหงือกร่น และความแรงของฤทธิ์กระชายดำจะทำให้เกิดอาการใจสั่น ใจเต้นแรงเหมือนดื่มกาแฟได้เช่นกัน จึงไม่ควรใช้กระชายในการบำรุงรักษาผู้ป่วยโรคตับ และเด็กเล็ก

     ดังนั้นก่อนจะเลือกกินสมุนไพรบำรุงร่างกาย อย่าเพียงอ่านแค่สรรพคุณแต่ต้องศึกษาผลข้างเคียงหรืออาการแพ้ของผู้ป่วยด้วย ทางที่ดีคือควรปรึกษาแพทย์ก่อนที่จะเลือกใช้สมุนไพรรักษาโรค เพราะสมุนไพรมีทั้งข้อดีและข้อเสียอยู่ในตัวเหมือนกัน รู้เท่าทัน เพื่อห่างไกลโทษของกระชายกันนะค่ะ กระชายเป็นสมุนไพรทำอาหารได้มากมายเลยจร้า

ขอขอบคุณข้อมูล http://sukkaphap-d.com
Read more at: http://www.prakoonmae.com/archives/3944