วันพฤหัสบดี, 1 พฤษภาคม 2568

คณะเทคโนโนการจัดการ มทร.ศรีวิชัย วข.นครศรีธรรมราช จับมือ ธนาคารออมสินภาค 17 (ทุ่งสง) ผลักดันนักศึกษาสู่ “ออมสินยุวพัฒน์รักษ์ถิ่น” พัฒนาและส่งเสริมเศรษฐกิจฐานรากของชุมชนในท้องถิ่น

คณะเทคโนโลยีการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย วิทยาเขตนครศรีธรรมราช พื้นที่ไสใหญ่ ภายใต้การนำ ผศ.ดร.กรกนก โภคสวัสดิ์ คณบดีคณะเทคโนโลยีการจัดการ, อาจารย์ภูษณะ พลสงคราม รองคณบดีฝ่ายวิชาการและวิจัย และ คณะผู้บริหาร อาจารย์ ร่วมกับ ธาคารออมสินภาค 17 นำโดย คุณธารฤทัย ก่อสุข ผู้อำนวยการธนาคารออมสินภาค 17, คุณวัชรินทร์ คงศร ผู้จัดการธนาคารออมสินสาขาทุ่งสง และ คุณระพีพันธุ์ จันทร์ประสิทธิ์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการธนาคารออมสินภาค 17 หน่วยพัฒนาสังคมและชุมชน เข้าร่วมรับฟังการนำเสนอผลงานของนักศึกษา จำนวน 5 ทีม ภายใต้การจัดโครงการ ออมสินยุวพัฒน์รักษ์ถิ่น ประจำปี 2568 ณ ห้องประชุมศรีสรรพวิทย์ คณะเทคโนโลยีการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช และ ผ่านระบบออนไลน์ Zoom Meeting

โครงการ ออมสินยุวพัฒน์รักษ์ถิ่น ประจำปี 2568 เกิดขึ้นจากความร่วมมือระหว่างของ ธนาคารออมสิน กับ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย การนำเสนอในครั้งนี้ มีนักศึกษาคณะเทคโนโลยีการจัดการ เข้าร่วมนำเสนอโครงการย่อย จำนวน 5 ทีม ประกอบด้วย

ทีมที่ 1 ทีมเด๋อด๋า&เดอะแก๊ง วิสาหกิจชุมชนมุสลิมะห์แปรรูปอาหารทะเลบ้านทรายแก้ว อ.กันตัง จ.ตรัง (น้ำพริกไข่ปู ปลาอินทรีย์แดดเดียว)
ทีมที่ 2 ทีม GenZ สู้เพื่อชุมชน กลุ่มมัดย้อมดินบ้านโคกบก อ.ทุ่งสง จ.นครศรีธรรมราช (ผ้ามัดย้อม)
ทีมที่ 3 ทีม รวมกันเฉพาะกิจ วิสาหกิจชุมชนเพาะเห็ดเพื่อการแปรรูป อ.เมือง จ.นครศรีธรรมราช (ก้อนเห็ดนางฟ้า)
ทีมที่ 4 ทีม Banana Syrup กลุ่มชุมชนผลิตภัณฑ์กล้วยน้ำว้าบ้านขุนทะเล อ.ลานสกา จ.นครศรีธรรมราช (ไซรัป จากกล้วยน้ำว้า)
ทีมที่ 5 ทีม Venus กลุ่มท่องเที่ยวชุมชนบ้านควนชะลิก อ.หัวไทร จ.นครศรีธรรมราช (ท่องเที่ยวชุมชน)

โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้นักศึกษาได้นำเสนอแนวทางการดำเนินงานที่มีการบูรณาการองค์ความรู้ร่วมกันระหว่างนักศึกษา ชุมชน และภาคีเครือข่ายในส่วนต่างๆ ร่วมกันพัฒนาและส่งเสริมเศรษฐกิจฐานรากของชุมชนในท้องถิ่น โดยเน้นการใช้ความรู้ทางวิชาการควบคู่กับภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อสร้างคุณค่าให้กับผลิตภัณฑ์หรือบริการในชุมชนอย่างยั่งยืน ทั้งยังเป็นเวทีในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างนักศึกษา ชุมชน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อันจะนำไปสู่การต่อยอดและขยายผลในวงกว้างต่อไปในอนาคต ตลอดจน สร้างประสบการณ์ในการทำงานและส่งเสริมศักยภาพของนักศึกษาให้สามารถทำงานเป็นทีม โดยมีอาจารย์จากคณะเป็นที่ปรึกษา และบุคลากรจากธนาคารออมสินในพื้นที่ เป็นพี่เลี้ยงช่วยดูแลชี้แนะและให้คำแนะนำในการทำงาน