วันจันทร์, 29 เมษายน 2567

มหาวิทยาลัยทักษิณ เปิดตัวโครงการ “กริชสกุลช่างสงขลา: การสร้างคุณค่าและการจัดการทุนทางวัฒนธรรมแบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากอย่างยั่งยืน”

เมื่อวันที่ 2 เมษายน 2566 มหาวิทยาลัยทักษิณ เปิดตัวโครงการวิจัยเรื่อง “กริชสกุลช่างสงขลา : การสร้างคุณค่าและการจัดการทุนทางวัฒนธรรมแบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากอย่างยั่งยืน” ณ ห้องประชุมบ้านชูซูกิ อาคารพาไลพัฒนา สถาบันทักษิณคดีศึกษา โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.ณฐพงศ์ จิตรนิรัตน์ อธิการบดี มหาวิทยาลัยทักษิณ เป็นประธานเปิดงาน และ รองศาสตราจารย์ ดร.สมัคร แก้วสุกแสง รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม กล่าวต้อนรับและรายงานการจัดงานเปิดตัวโครงการวิจัยในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาศักยภาพ และยกระดับขีดความสามารถผู้ประกอบการวัฒนธรรมกริชสกุลช่างสงขลา ช่างฝีมือตีกริชท้องถิ่น และผู้สืบทอดทาง วัฒนธรรม ด้วยการสร้างคุณค่าของทุนทางวัฒนธรรมกริชให้เป็นเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมของจังหวัดสงขลา

ภายในงานมีการแสดง รำกริชสุหรานากง โดย ผศ.อรวรรณ โภชนาธาร คณะศิลปกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยทักษิณ และร่วมฟังปาฐกถา “เรื่องวัฒนธรรมกริชในอินโดนีเซียและมาเลเซีย ” โดย กงสุลใหญ่สาธารณรัฐอินโดนีเซีย ประจำจังหวัดสงขลา และ กงสุลใหญ่มาเลเซีย ประจำจังหวัดสงขลา ต่อด้วย งานเสวนา เรื่อง “กริชและศาสตราวุธ ศาสตราภรณ์ในภาคใต้” โดยมีผู้ทรงคุณวุฒิร่วมเสวนา ได้แก่

พระสุรศักดิ์ กิตติภัทโท (วัดคลองรี อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา)

– ศ.ดร.ผดุงศักดิ์ รัตนเดโช (อุปนายกสภามหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยทักษิญ)

– อ.ปริญญา สัญญะเดช (คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ)

– นายอรุณ แก้วสัตยา (นายโรงโนรา ผู้ใช้กริชในพิธีกรรม)

– อ.บุญเลิศ จันทระ (สถาบันทักษิณคดีศึกษา มหาวิทยาลัยทักษิณ)

ดำเนินรายการ โดย นายธีระ จันทิปะ

และการแถลงข่าวเปิดตัวโครงการ “กริชสกุลช่างสงขลา: การสร้างคุณค่าและการจัดการทุนทางวัฒนธรรมแบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากอย่างยั่งยืน” โดยรองศาสตราจารย์ ดร.สมัคร แก้วสุกแสง รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม ร่วมพบปะนักวิจัยและภาคีเครือข่ายเพื่อกำหนดทิศทางขับเคลื่อนกริชสกุลช่างสงขลา และชมกริชจากนักสะสมกริช และจากพิพิธภัณฑ์คติชนวิทยา สถาบันทักษิณคดีศึกษา