
วันที่ 1 กรกฎาคม 2568 เวลา 13.00 น. ที่มัสยิดวาดีลฮูเซ็น (มัสยิด 300 ปี) ตำบลลุโบะสาวอ อำเภอบาเจาะ จังหวัดนราธิวาส พลตรี เฉลิมชัย สุทธินวล ผู้อำนวยการศูนย์สันติวิธี เปิดเผยต่อคณะสื่อมวลชนสำนักข่าวแห่งชาติมาเลเซีย (Bernama) ว่า ศูนย์สันติวิธีซึ่งมีหน้าที่ปฏิบัติตามแนวทางสันติวิธี โดยมีกลุ่มคนเป้าหมายตั้งแต่ต้นน้ำ (เด็ก) กลางน้ำ (เยาวชน) อยู่ระหว่างการศึกษาในโรงเรียน สถานศึกษา รวมถึงผู้สูงวัย และการขับเคลื่อนงานแบ่งเป็น 5 ส่วนสำคัญ คือ กองกิจการพิเศษ, กองสันติวิธีมีหน้าที่ที่จะเชื่อมโยงกับกลุ่ม ผู้นำที่มีความรู้ทางด้านศาสนา เพื่อนำไปสู่เยาวชนกลางน้ำ ช่วงวัยรุ่นนักเรียน เป็นการเชื่อมโยงกับผู้นำศาสนา ผ่านหลัก “ฮูกุมปากัต” ธรรมนูญหมู่บ้าน 9 ดี จัดพิมพ์เผยแพร่ในฉบับชาวบ้าน แจกจ่ายให้กับเยาวชน ประชาชน ผ่านหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วย ดีที่ 1.การเป็นคนดี ดีที่ 2. มีปัญญา ดีที่ 3. รายได้สมดุล ดีที่ 4. สุขภาพแข็งแรง ดีที่ 5. สิ่งแวดล้อมสมบูรณ์ ดีที่ 6. สังคมอบอุ่น ดีที่ 7. หลุดพ้นอาชญากรรม ดีที่ 8.จัดตั้งกองทุนพึ่งตนเอง และดีที่ 9. กรรมการหมู่บ้านเข้มแข็ง ภายใต้กรอบงานสำคัญ 5 งาน คือ งานการควบคุมพื้นที่และการบังคับใช้กฎหมาย ใช้กฎหมายเท่าที่จำเป็น และเป็นธรรม, งานป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด ,งานส่งเสริมการอยู่ร่วมกันภายใต้สังคมพหุวัฒนธรรมธรรมที่เข้มแข็ง, งานสร้างความเข้าใจ และงานบูรณาการด้านความมั่นคงและด้านการพัฒนาให้มีความต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น หนุนเสริมร่วมกับ ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ ย้ำทุกรัฐบาลมีความมุ่งมั่นแก้ไขปัญหาดังกล่าวจริงจังบนพื้นฐานบริบททางสังคมพหุวัฒนธรรม โดยทุกภาคส่วนรร่วมกันสร้างความเข้าใจ จะเห็นได้จากภาพรวมกลุ่มคนส่วนมากออกมาปฏิเสธไม่เอาความรุนแรงในพื้นที่ ย้ำไม่เป็นความจริงที่เคยปรากฎเป็นข่าวในสื่อสังคมออนไลน์สู่ประชาชนทั้งในและนอกประเทศ ถึงเรื่องราวว่ารัฐบาลดำเนินคดีเรื่องการแต่งกายชุดมลายูู ยืนยันรัฐบาลมีกฎหมาย พ.ร.บ.ส่งเสริมและรักษามรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม พ.ศ. 2559 ที่ส่งเสริมสนับสนุนความแตกต่างด้านอัตลักษณ์ประเพณีวัฒนธรรม ยืนยันกว่า 20 ปี ที่ทุกภาคส่วนร่วมใจแก้ไขปัญหาเหตุการณ์ความรุนแรงในพื้นที่ส่งผลให้เห็นประจักษ์ในทิศทางที่ดีขึ้น ด้วยการสื่อสารสร้างความเข้าใจเข้าถึงกลุ่มประชาชนทุกเพศทุกวัยมากขึ้น เช่นกรณีการบอกเล่าเรื่อง “เจาะเอ็นร้อยหวาย เชลยศึกฯ” เยาวชนรุ่นใหม่เริ่มเข้าใจและรับรู้ได้ว่าไม่เป็นความจริง จากกลุ่มผู้เห็นต่างจากรัฐที่พยายามบิดเบือนข่าวสารความจริง ในขณะที่รัฐบาลมีเป้าหมายชัดเจนเพื่อพี่น้องประชาชนมีความสุขสงบ มีอาชีพ สร้างรายได้ ยกระดับคุณภาพชีวิตที่ดียิ่งขึ้น ทั้งนี้ประเทศไทย กับประเทศมาเลเซีย มีความสัมพันธ์ระหว่างกันมาช้านาน มีความร่วมมือที่ดีมาโดยตลอด จะเห็นได้จากความร่วมมือของหน่วยงานความมั่นทั้งสองประเทศมีการประชุมร่วมกัน และแลกเปลี่ยนความรู้ พัฒนาความสามารถผ่านการฝึกผสมทั้งทางบก ทางอากาศ ทางทะเล ต่อเนื่องเป็นประจำทุกปี แต่ภายใต้ความสัมพันธ์แน่นแฟ้นนี้ก็มีกลุ่มคนผู้เห็นต่างพยายามสร้างความแตกแยก อย่างไรก็ตามมั่นใจที่ประเทศมาเลเซียเป็นเจ้าภาพจัดประชุมสุดยอดอาเซียนในปีนี้ นับเป็นความคาดหวังของทั้งสองประเทศ คือ “สมาชิกอาเซียนจะเป็นปึกแผ่นในการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ร่วมกันของโลก” ปราศจากภัยคุกคามในปัจจุบัน ยืนยันสะพานข้ามแม่น้ำโก-ลกแห่งที่ 2 อ.สุไหงโก-ลก จ.นราธิวาส-รันเตาปันยัง ประเทศมาเลเซีย คือความพยายามของสองประเทศที่จะไปมาหาสู่ซึ่งกันและกันด้วยความสงบ สันติ
สำหรับทุกปัญหาต้องแก้ไขอย่างเป็นระบบ ต้องไม่กระทบต่อความเป็นอยู่ของประชาชน เชื่อมั่นว่าคนไทยทั้งประเทศ รวมถึงประเทศเพื่อนบ้านความหวังให้พื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้เกิดสันติสุขในเร็ววัน โดย พลโท ไพศาล หนูสังข์ แม่ทัพภาคที่ 4 / ผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 ติดตาม วิเคราะห์สถานการณ์รุนแรงที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง แม้สถานการณ์จะลดน้อยลง แต่กลุ่มขบวนการยังคงมีความพยามสร้างสถานการณ์ โดยเฉพาะการบ่มเพาะผ่านสื่อสังคมออนไลน์ พร้อมขอบคุณพี่น้องประชาชนและทุกภาคส่วนที่มีส่วนช่วยเสริมให้การปฏิบัติภารกิจของเจ้าหน้าที่บรรลุตามเป้าหมายในการสร้างพื้นที่ปลอดเหตุ พี่น้องปลอดภัย และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ที่ผ่านมามีสื่อต่างประเทศ (Al Jazeera) ลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์ชายแดนใต้เช่นกัน ขอขอบคุณพี่น้องสื่อมวลชนทั้งในประเทศ และต่างประเทศที่ให้ความสนใจ ให้โอกาส รัฐบาลไทย โดยกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 ส่วนหน้า สร้างความเข้าใจ และขอเรียนให้ทราบถึงกฎหมายพิเศษ มีทั้งหมด 5 ฉบับ คือ พ.ร.บ.กฎอัยการศึก พ.ศ.2547, พ.ร.ก.บริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548, พ.ร.บ.ความมั่นคงภายในราชอาณาจักร พ.ศ.2551 และ พ.ร.บ.การใช้กฎหมายอิสลาม โดยมีดาโต๊ะยุติธรรม และ กฎหมาย ศอ.บต. ที่ประเทศไทยจะให้ความเป็นพิเศษพื้นที่ จชต. ในการบริหารจัดการแก้ไขปัญหาพื้นที่ เพื่อเสริมสร้างความมั่นคงและสันติสุข ซึ่งเป็นหมุนหมายสำคัญของรัฐบาลทั้งสองประเทศ มุ่งมั่นแก้ไขปัญหาเพื่อพี่น้องประชาชนอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข มั่นคง ยั่งยืน