Khawchawbannews

ข่าวการศึกษา => ข่าวการศึกษา => ข้อความที่เริ่มโดย: system man ที่ กุมภาพันธ์ 27, 2019, 01:36:21 PM

หัวข้อ: ศศ.บ.ภาษาไทย มรภ.สงขลา รวมทีมสร้าง “ห้องสมุดมีชีวิต” ภารกิจสร้างสุขให้น้อง
เริ่มหัวข้อโดย: system man ที่ กุมภาพันธ์ 27, 2019, 01:36:21 PM
ศศ.บ.ภาษาไทย มรภ.สงขลา รวมทีมสร้าง “ห้องสมุดมีชีวิต” ภารกิจสร้างสุขให้น้อง

(http://www.khawchawbannews.com/board/index.php?action=dlattach;topic=559.0;attach=2316;image)


                “ที่เขาพูดกันว่า เด็กสมัยนี้ไม่รักการอ่านนั่นอาจไม่ใช่ความจริงทั้งหมด แต่คงเพราะหลายคนไม่มีโอกาสเข้าถึงหนังสือและสื่อที่เสริมสร้างพัฒนาการมากกว่าจึงทำให้ขาดแรงกระตุ้นจนกลายเป็นหลงลืมเรื่องความสำคัญของการอ่านไป” 

(https://scontent.fbkk3-1.fna.fbcdn.net/v/t1.0-9/52893613_1081487865391205_2993039722193879040_n.jpg?_nc_cat=105&_nc_eui2=AeGjwIpxAOcj8pL8RJrlY-SP6xvPzw14axW4jQYlAwIktH3RafxfvjvQ1x6oqgqjQeFHkxSAN5UojNIwZ6uE4ogdZBdT4c-1BCctH3lgs0aHCg&_nc_ht=scontent.fbkk3-1.fna&oh=1c67c0e49129d0edb5248349893d2ff1&oe=5CDFB791)

                ข้อความข้างต้นมาจากประโยคสนทนาตอนหนึ่งที่  อ.สุกานดา จันทวี  ได้สะท้อนออกมาเพื่อเล่าปัญหาและเหตุผลสำคัญที่ทำให้ริเริ่มทำโครงการห้องสมุดมีชีวิตเป็นปีแรก


(https://scontent.fbkk3-2.fna.fbcdn.net/v/t1.0-9/52870314_1081487548724570_1397158234392887296_n.jpg?_nc_cat=108&_nc_eui2=AeFDPkmifI8b-dexVq10X4gOxnnoNmQnysJJReMZPQ2_Q31TdwPUQv5cC6qrCRUPzqvJNbx2ghWtsiA0dxVm66X3gxngO5dRu9AeTTHNjVjmcg&_nc_ht=scontent.fbkk3-2.fna&oh=23520c2622912ad2f0c9a4d230216f19&oe=5D1EB6AC)

               อ.สุกานดา จันทวี อาจารย์สาขาบรรณารักษ์ศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา (มรภ.สงขลา) ผู้ดูแลโครงการห้องสมุดมีชีวิต เปิดเผยถึงที่มาของการจัดกิจกรรมว่า ต้องการที่จะพัฒนาห้องสมุดของโรงเรียนให้เป็นห้องสมุดมีชีวิต รองรับกระแสความเปลี่ยนแปลงที่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสังคม โดยเฉพาะด้านการสร้างนิสัยรักการอ่าน ส่งเสริมสู่การเป็นนักอ่าน นักคิด นักปฏิบัติ โดยให้หนังสือจุดประกายความคิด สร้างแรงบันดาลใจแก่เด็กๆ ขับเคลื่อนสังคมไทยให้เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ และเป็นกลไกสนับสนุนวาระแห่งชาติเรื่องการอ่านให้เข้มแข็งยิ่งขึ้น โดยได้รับความร่วมมืออย่างดียิ่งจากอาจารย์สาขาบรรณารักษศาสตร์ และอาจารย์สาขาวิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์ฯ มรภ.สงขลา เข้ามาช่วยในโครงการนี้ด้วย

(https://scontent.fbkk4-1.fna.fbcdn.net/v/t1.0-9/52729303_1081487558724569_9122268871779155968_n.jpg?_nc_cat=107&_nc_eui2=AeGbsUXbj8pGgM2NO-onvtrFLFFnfwrtevm2gIHJLaTfcVrbbo0f5xTvsAUq46FgcvQ4FhgKEhvD3juWygjFBwZy4A9XHHGiMR7fV6QXPXJQXQ&_nc_ht=scontent.fbkk4-1.fna&oh=1d10585d5cce308f2e55423d6c8d480f&oe=5CE24D73)

               อ.สุกานดา เล่าว่า ตนได้ชักชวนนักศึกษาหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย(ศศ.บ.ภาษาไทย) ที่สนใจเข้าร่วมเป็นจิตอาสามาร่วมกันคิดและปรับปรุงห้องสมุด ร.ร.บ้านน้ำกระจาย อำเภอเมืองสงขลา แม้นักศึกษาจะไม่มีความรู้ด้านบรรณารักษ์มาก่อน แต่ตนใช้การอบรมให้ความรู้เบื้องต้น และทดลองทำร่วมกัน ทั้งนักศึกษา ครู และยังให้โอกาสนักเรียนในโรงเรียนได้ออกความคิดเห็น มีส่วนร่วมในการวางแผนด้วย เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้ใช้มากที่สุด ซึ่งโครงการนี้ไม่ได้ใช้งบประมาณจากทางมหาวิทยาลัย แต่ด้วยความเสียสละของนักศึกษาที่ตั้งใจช่วยอย่างเต็มที่ รวมถึงการช่วยเหลือจากทางคณะมนุษยศาสตร์ฯ มรภ.สงขลา และบุคคลภายนอกที่ทราบข่าวมาร่วมบริจาคสิ่งของด้วย ทำให้ภารกิจนี้สำเร็จลุล่วง หลังจากนี้จะเป็นการติดตามขยายผล ดูแลให้ห้องสมุดอยู่ในสภาพดีคงเดิม และต่อยอดโดยการพัฒนาให้ที่นี่เป็นศูนย์เรียนรู้และลานกิจกรรมของชุมชน โดยมีการจัดแบ่งโซนให้ผู้ปกครองสามารถเข้ามาใช้บริการได้ด้วย

(https://scontent.fbkk3-1.fna.fbcdn.net/v/t1.0-9/53142653_1081487602057898_4472157301372878848_n.jpg?_nc_cat=101&_nc_eui2=AeGMsw2N7hs_iv6F_NlI6seKVXJrSocNadRvFVwUQjZKJ5MnB9Cf0Qn964RaTUnXL6l8O8FR61OiKjQtbXlIpIaO7nLXZFOQkn2omftAa8vZUA&_nc_ht=scontent.fbkk3-1.fna&oh=06ad88edde73478e1318b6d0149ef92a&oe=5D24C9F8)

               ด้าน ผศ.ดร.นิวัต กลิ่นงาม อธิการบดี มรภ.สงขลา กล่าวระหว่างเป็นประธานเปิดโครงการห้องสมุดมีชีวิต ว่า รู้สึกดีใจแทนเด็กๆ ที่ผู้ใหญ่เห็นความสำคัญของการศึกษา เพราะแสงสว่างใดเสมอด้วยปัญญาไม่มี การที่เราปลูกฝังให้เด็กรักการอ่าน รักการเรียนรู้ ย่อมเป็นการเพาะเมล็ดพันธุ์ให้เติบโตขึ้นมาเป็นคนใฝ่รู้ ใฝ่เรียน ซึ่งห้องสมุดถือเป็นศูนย์กลางแห่งการเรียนรู้ ไม่ใช่แค่กับเด็กนักเรียนเท่านั้น แต่ยังหมายรวมถึงชุมชนด้วย เช่นเดียวกับ มรภ.สงขลา ที่มุ่งมั่นให้การศึกษาแก่เยาวชนในท้องถิ่น หากมีสิ่งใดที่จะสามารถร่วมมือกับชุมชนได้ก็ยินดีอย่างยิ่ง เพราะเราเป็นสถาบันการศึกษาที่อยู่คู่กับท้องถิ่นมายาวนานนับ 100 ปีแล้ว 

(https://scontent.fbkk4-3.fna.fbcdn.net/v/t1.0-9/52753357_1081487508724574_3797231821058473984_n.jpg?_nc_cat=109&_nc_eui2=AeFyj51rywoZVL9v7XY9ZV7KuR_jNjJgXurpWdp2CE91Rrsd39tZavnVwkFwCQ9ZHhTKF7rgrypSLigtIOZ5ruG_zd4sSXIUgZnEsZdzImLpdA&_nc_ht=scontent.fbkk4-3.fna&oh=7091b07d56dae5f91fa539f846ebd831&oe=5D18DC80)

               ญาณิศา ทองปาน หรือ ปลา นักศึกษาชั้นปีที่ 3 หลักสูตร ศศ.บ.ภาษาไทย เล่าว่า ห้องสมุดเป็นแหล่งสะสมปัญญาและต่อยอดความรู้ในแขนงต่างๆ ทั้งวิชาการและตามความสนใจของแต่ละคน นอกจากจะมีหนังสือแล้วในปัจจุบันยังมีเครื่องมือเทคโนโลยีดิจิตอล ซึ่งเป็นอีกสื่อสำคัญที่เข้ามามีส่วนช่วยในการสืบค้นข้อมูลร่วมด้วย แต่ยังมีห้องสมุดโรงเรียนอีกมากมายที่ยังคงขาดแคลน ตนและเพื่อนๆ จึงอยากช่วยกันทำให้น้องๆ มีโอกาสได้อ่านหนังสือดีๆ และมีทักษะการเรียนรู้เหมาะสมตามวัย เพื่อจะได้เติบโตเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาสังคมต่อไป

(https://scontent.fbkk4-1.fna.fbcdn.net/v/t1.0-9/52901719_1081487552057903_8738151551152947200_n.jpg?_nc_cat=111&_nc_eui2=AeGgCsGmeCbJHg0Ny5chiP2Jh7Yo7sqaPprmXOyY2oxT0qKa6apqnBpRh5PbeXIIMG75-EeSRbOnOQJOrz3PudWcaCauwF6O2AZEo7UgYjxyaw&_nc_ht=scontent.fbkk4-1.fna&oh=824915be5268dc35a574813c1e1c21e3&oe=5D161CE3)

               วิศลย์ เรืองกิจชู หรือ กาย นักศึกษาชั้นปีที่ 2 หลักสูตร ศศ.บ.ภาษาไทย กล่าวบ้างว่า สมาชิกในโครงการทุกคนได้รับมอบหมายงานในแต่ละฝ่ายอย่างชัดเจน ตนมีหน้าที่หลักอยู่ที่โซนของเล่นเสริมการเรียนรู้ และได้ประดิษฐ์เครื่องบินของเล่นจากกระดาษลัง บ้านของเล่นสำหรับเด็กชั้นประถมศึกษา รวมไปถึงส่วนอื่นๆ ที่พอช่วยได้ เช่น เล่านิทาน ชวนน้องเล่นเกม ซึ่งการดำเนินงานจนมีกิจกรรมเหล่านี้ต้องใช้ทักษะด้านการสื่อสารเพื่อให้เกิดความร่วมมือและเข้าใจ ทุกคนได้แสดงศักยภาพของตัวเองออกมา แม้ในการทำงานจะไม่ได้ราบรื่นเสมอไป บางครั้งมีปัญหาเข้ามาท้าทาย จำเป็นต้องอาศัยการมีส่วนร่วมช่วยกันระดมความคิด นี่จึงถือเป็นการนำเอาศาสตร์ความรู้ด้านทักษะการสื่อสาร คิดวิเคราะห์ในสาขาภาษาไทยที่เรียนมาใช้จนเกิดผลจริงๆ และด้วยกำลังใจที่ดีไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้นระหว่างทาง พวกเราต่างมีเป้าหมายที่ชัดเจนคือการได้เห็นเด็กๆ มีความสุขอยู่ในโลกของห้องสมุด

(https://scontent.fbkk4-3.fna.fbcdn.net/v/t1.0-9/53046695_1081487505391241_2383803739447230464_n.jpg?_nc_cat=100&_nc_eui2=AeEjK6AS0L1oiw-iIW8K3QJYoFnOkH_IS0lbR6mKIytqkH6jaTFWDTvW4L12Lzqml2R0lMKUmV3Ne7McB6A4XAkxkOKWiz3CO2RGV1uaiasjcw&_nc_ht=scontent.fbkk4-3.fna&oh=ab06703e581193d5f4eec8ba2062bf93&oe=5CEDB29C)

                ปิดท้ายด้วย ธนัญญา แซ่ว่อง หรือ ฝ้าย นักศึกษาชั้นปีที่ 1 หลักสูตร ศศ.บ.ภาษาไทย เล่าถึงเหตุผลที่เข้าร่วมโครงการห้องสมุดมีชีวิต ว่า เพราะเป็นโครงการที่น่าสนใจ และเป็นครั้งแรกที่ได้ออกไปทำกิจกรรมนอกมหาวิทยาลัย ทุกคนได้ใช้ความสามารถอย่างเต็มที่ ซึ่งตนมีหน้าที่หลักๆ ในการจัดหมวดหมู่และลงทะเบียนหนังสือก่อนนำขึ้นชั้น ด้วยความตั้งใจอยากปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงห้องสมุดให้ดูน่าใช้บริการมากขึ้น ส่วนผลตอบแทนที่ได้กลับคืนมาคือความประทับใจจากรอยยิ้มและความสุขของเด็กๆ


(https://scontent.fbkk3-3.fna.fbcdn.net/v/t1.0-9/53265495_1081487598724565_5534547075837984768_n.jpg?_nc_cat=104&_nc_eui2=AeHspZ0Nfu70VCzg6xbIrWTUZShiIdrOP9F2n3JnuNpEcBasOgVwWIy3GKQtPu4MOT5vdnlfd3sxpWm6zOcpqev6YLjH3y71UiFfOJwDZ2rDOg&_nc_ht=scontent.fbkk3-3.fna&oh=8461b3d6de605d4a1268b1816167044f&oe=5CE3EC5D)

บรรยากาศของห้องสมุดที่ชั้นวางอัดแน่นด้วยหนังสือตำเรียน วรรณกรรม รวมทั้งความรู้ทั่วไป ในขณะที่มีเด็กบางคนกำลังตั้งหน้าตั้งตาอ่านหนังสือเหล่านั้นอยู่ อีกมุมหนึ่งเด็กๆ ได้รวมกลุ่มกันเล่นเกมอย่างมีความสุข กับบรรดาของเล่นเสริมทักษะเพิ่มเติมจากความรู้ในห้องเรียน นี่คงไม่ใช่ภาพในฝัน ห้องสมุดโรงเรียนต้องมีชีวิต เพื่อสร้างอีกหลายร้อยชีวิตด้วยการเปิดโลกกว้าง เติมเต็มจินตนาการด้วยการอ่านไม่รู้จบ

(https://scontent.fbkk4-3.fna.fbcdn.net/v/t1.0-9/52973989_1081487612057897_6299237815020421120_n.jpg?_nc_cat=100&_nc_eui2=AeHL_DzHem4M9SGSr0_Klr-TbkFb5jr1WRtErRmj2wY422qK3XO49PMuDFmfM4KLQomJZKCHr6ooErueyiB-SIYu3r0FKKQfm-Jt_sWqea4pHQ&_nc_ht=scontent.fbkk4-3.fna&oh=21a0ddf557a91ee683c1c0faaf4d8bb8&oe=5CEBD563)

(https://scontent.fbkk4-1.fna.fbcdn.net/v/t1.0-9/52967839_1081487675391224_1411167962445905920_n.jpg?_nc_cat=107&_nc_eui2=AeHfVAzUjEUIUbkliQwTe5gdINziUP0fPOl8JyNCrA6V-2JYsJNrV27AXlt4WHT589E4XcXrggQv4iCLmJ3CxxjKtmRK-tEJtyoRhzdQfwUk_w&_nc_ht=scontent.fbkk4-1.fna&oh=764439540a070926a50349143402be38&oe=5CEDB175)

(https://scontent.fbkk4-2.fna.fbcdn.net/v/t1.0-9/52690340_1081487705391221_6783364136328757248_n.jpg?_nc_cat=102&_nc_eui2=AeGYUlD8oF-o1RV-R5n1KzLhR8orOupAEoewV5HWyVTdRWMxGpIJz9ghs_pku7_Q-jvx_nziDfLdlO54U71Vf1LTtJVII3l-YadFh2we042D-w&_nc_ht=scontent.fbkk4-2.fna&oh=0bdb1d7ab6cf37b0632c6aab3581cbf7&oe=5D237744)

(https://scontent.fbkk4-2.fna.fbcdn.net/v/t1.0-9/52875407_1081487688724556_273200284128247808_n.jpg?_nc_cat=102&_nc_eui2=AeGQP5meJDeYKyM8dBfmaUB21n8rDUp4dwKN8dsGJ7sckKkCZ-ZsrDTGHy3JDNlLDFoMBYUrpNI7uZkeSH3cSVtENReE_wVLHyM978jqG28qeQ&_nc_ht=scontent.fbkk4-2.fna&oh=0b607aee1ba121da2a0ba4ee69d44bf0&oe=5CE29D3A)

(https://scontent.fbkk4-3.fna.fbcdn.net/v/t1.0-9/53150536_1081487855391206_8544090927126282240_n.jpg?_nc_cat=100&_nc_eui2=AeGWZA4jjw8-f0fa27ZYnvonrZJ3smMDUjHDuvvvV2UKtw0YkVWtdkucT-hgVqcTqzxi6Vcv4Gcdv7yeGzuhbNW60uVOJvLnNuqB9fjPQyOhbg&_nc_ht=scontent.fbkk4-3.fna&oh=cd83a8c2a9b9591ad95d3585a014b01d&oe=5CE6FB72)