Khawchawbannews

ข่าวการศึกษา => ข่าวการศึกษา => ข้อความที่เริ่มโดย: system man ที่ มิถุนายน 09, 2019, 03:27:47 PM

หัวข้อ: อาจารย์-นศ.เทคโนโลยียางและพอลิเมอร์ มรภ.สงขลาคว้ารางวัลนำเสนอผลงานวิจัยภาคโปสเตอ
เริ่มหัวข้อโดย: system man ที่ มิถุนายน 09, 2019, 03:27:47 PM
อาจารย์-นศ.เทคโนโลยียางและพอลิเมอร์ มรภ.สงขลาคว้ารางวัลนำเสนอผลงานวิจัยภาคโปสเตอร์ ระดับดี

(http://www.khawchawbannews.com/board/index.php?action=dlattach;topic=647.0;attach=2504;image)


                อาจารย์ นักศึกษา สาขาวิชาเทคโนโลยียางและพอลิเมอร์ มรภ.สงขลา คว้ารางวัลนำเสนอผลงานวิจัยภาคโปสเตอร์ ระดับดี กลุ่มเทคโนโลยี โชว์ศักยภาพเวทีประชุมวิชาการระดับชาติ IAMBEST ครั้งที่ 4 บูรณาการนวัตกรรมเพื่อพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน

(https://scontent.fbkk22-3.fna.fbcdn.net/v/t1.0-9/62134579_1150139171859407_1482483463444496384_n.jpg?_nc_cat=110&_nc_oc=AQnC6iCSky9-QVSssK8spqyYaXNZYiLfPYgIX7JzdHfyqT_GhFbTXkIGv7JDeQXklAs&_nc_ht=scontent.fbkk22-3.fna&oh=525445eb9926e51441b4d53ba544f75d&oe=5D824310)

                ดร.วัชรินทร์ สายน้ำใส อาจารย์ประจำหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยียางและพอลิเมอร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา (มรภ.สงขลา) เปิดเผยว่า ตนพร้อมด้วยนักศึกษาสาขาเทคโนโลยียางและพอลิเมอร์ จำนวน 4 คน คือ น.ส.ฮัปเสาะห์ มะเด็ง น.ส.ธีราพร หมุดกะเหล็ม น.ส.กาญจนา หนูจีน และ นายสุไหลหมาน เบญฤทธิ์ เข้าร่วมการประชุมวิชาการระดับชาติ IAMBEST ครั้งที่ 4 จัดโดยสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง วิทยาเขตชุมพรเขตอุดมศักดิ์ จ.ชุมพร (The 4th National Conference on Informatics, Agriculture, Management, Business administration, Engineering, Sciences and Technology) เมื่อวันที่ 30-31 พฤษภาคม ที่ผ่านมา ในหัวข้อ “บูรณาการนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน” ภายใต้ความร่วมมือของภาคีเครือข่าย ประกอบด้วย มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ วิทยาเขตชุมพร มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตพัทลุง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี และ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ โดยมีผลงานวิจัยที่ผ่านการพิจารณาให้เข้าร่วมนำเสนอทั้งสิ้น 228 ผลงาน จาก 53 สถานศึกษา

(https://scontent.fbkk22-1.fna.fbcdn.net/v/t1.0-9/63757946_1150139175192740_5983032508688629760_n.jpg?_nc_cat=101&_nc_oc=AQkgAx7D1XJmNBrInP417Miut3NndNsnbUyZt0xUXRWgHIQ08D4DgroEfY2b5WhIHXU&_nc_ht=scontent.fbkk22-1.fna&oh=ef47d402f62f20af61f147304277e5bb&oe=5D7D4AE4)

                ดร.วัชรินทร์ กล่าวว่า ตนและทีมงานเข้าร่วมนำเสนอผลงานวิจัยภาคโปสเตอร์ ในกลุ่มวิทยาศาสตร์ 2 ผลงาน และกลุ่มเทคโนโลยี 1 ผลงาน ดังนี้ กลุ่มเทคโนโลยี บทความเรื่อง “การใช้แคลเซียมคาร์บอเนตและซิลิกาทดแทนเขม่าดำบางส่วนเพื่อให้มีพลังงานสูญหายในระดับเดียวกันของยางธรรมชาติวัลคาไนซ์” โดย สุไหลหมาน เบญฤทธิ์ และ วัชรินทร์ สายน้ำใส กลุ่มวิทยาศาสตร์ 1. บทความเรื่อง “อิทธิพลของปริมาณแคลเซียมคาร์บอเนตต่อการผ่อนคลายความเค้นของยางธรรมชาติคอมพาวนด์โดยใช้เครื่องทดสอบความหนืดมูนนี่” โดย ฮัปเสาะห์ มะเด็ง และ วัชรินทร์ สายน้ำใส 2. บทความเรื่อง “การประยุกต์ใช้วิธีการพื้นผิวตอบสนองในการออกสูตรยางคอมพาวนด์ : กรณีศึกษาผลของปริมาณเอ็มบีทีเอสและปริมาณกำมะถัน” โดย ธีราพร หมุดกะเหล็ม กาญจนา หนูจีน และ วัชรินทร์ สายน้ำใส ในการนี้ ผลงานวิจัยเรื่อง การใช้แคลเซียมคาร์บอเนตและซิลิกาทดแทนเขม่าดำบางส่วนเพื่อให้มีพลังงานสูญหายในระดับเดียวกันของยางธรรมชาติวัลคาไนซ์ ได้รับรางวัลการนำเสนอผลงานวิจัย ภาคโปสเตอร์ ระดับดี กลุ่มเทคโนโลยี 


(https://scontent.fbkk22-1.fna.fbcdn.net/v/t1.0-9/62320426_1150139221859402_4328905955774300160_n.jpg?_nc_cat=104&_nc_oc=AQkdSiUvQqryUalW7pdVk6NUFKYDhP_ymbO5eAutV4xYvlvSZkJoKtUL6WyeHSbf0vQ&_nc_ht=scontent.fbkk22-1.fna&oh=74cbb7143d832285f878b6ad6796ad65&oe=5D9DAB22)

                งานวิจัยดังกล่าว เป็นการศึกษาการใช้แคลเซียมคาร์บอเนตและซิลิกาทดแทนเขม่าดำบางส่วนในยางธรรมชาติวัลคาไนซ์ เพื่อให้มีพลังงานสูญหายในระดับเดียวกันกับยางธรรมชาติที่ผสมเขม่าดำปริมาณ 40 phr โดยใช้เขม่าดำเกรด N550 เป็นสารตัวเติมร่วมกับแคลเซียมคาร์บอเนตและซิลิกาเกรด Hi-Sil 233 แล้วใช้เส้นแนวโน้มทำนายปริมาณที่เหมาะสมของแคลเซียมคาร์บอเนตและซิลิกา พบว่ายางธรรมชาติผสมเขม่าดำเกรด N550ปริมาณ 30 phr ร่วมกับแคลเซียมคาร์บอเนตและซิลิกาเกรด Hi-Sil 233 ปริมาณ 41.31 และ 39.36 phr ตามลำดับ มีพลังงานสูญหายรวมในระดับเดียวกับยางธรรมชาติที่ผสมเขม่าดำเกรด N550 เพียงอย่างเดียวในปริมาณ 40 phrโดยที่ยางธรรมชาติผสมเขม่าดำเกรด N550 ปริมาณ 10, 20 และ 30 phr สามารถทดแทนด้วยแคลเซียมคาร์บอเนตปริมาณ 94.38, 62.07 และ 41.31 phr ตามลำดับ ซึ่งผลการวิจัยนี้จะเป็นประโยชน์และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในอุตสาหกรรมยางต่อไป

(https://scontent.fbkk22-3.fna.fbcdn.net/v/t1.0-9/62618926_1150139225192735_113677755576483840_n.jpg?_nc_cat=111&_nc_oc=AQmrbVHtp5y0Ua7H4L1620HIun7Tr3bEzK9Dm4_5NJh1vyu8eBhqT3X--h3p-32jFGY&_nc_ht=scontent.fbkk22-3.fna&oh=baa91b283aef45c3c646a5e66d2ada9f&oe=5D7FAAA2)