Khawchawbannews

ข่าวการศึกษา => ข่าวการศึกษา => ข้อความที่เริ่มโดย: system man ที่ พฤษภาคม 01, 2019, 12:29:32 PM

หัวข้อ: มรภ.สงขลา-ร.ร.แจ้งวิทยา สุดปลื้มผลงานทีม “ศิลป์สร้างสรรค์สงขลา” คว้ารองชนะเลิศ
เริ่มหัวข้อโดย: system man ที่ พฤษภาคม 01, 2019, 12:29:32 PM
มรภ.สงขลา-ร.ร.แจ้งวิทยา สุดปลื้มผลงานทีม “ศิลป์สร้างสรรค์สงขลา” คว้ารองชนะเลิศอันดับ 1 ระดับประเทศ ประกวดดนตรี-การแสดงพื้นบ้าน

(http://www.khawchawbannews.com/board/index.php?action=dlattach;topic=615.0;attach=2435;image)

                มรภ.สงขลา-ร.ร.แจ้งวิทยา สุดปลื้ม ทีมศิลป์สร้างสรรค์สงขลา โชว์ผลงานระดับประเทศ คว้ารางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ภาคใต้ ประกวดดนตรีและการแสดงพื้นบ้าน รับถ้วยเกียรติยศรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม พร้อมเงินรางวัล 80,000 บาท   


(https://scontent.fbkk4-3.fna.fbcdn.net/v/t1.0-9/59343016_1121866304686694_2597070276105601024_n.jpg?_nc_cat=100&_nc_eui2=AeFTa3NYvrZgZ-TV4L6Aw8_oeJwDWVYL2DKOPxO3WU1m0aM_WXGweelSItSwACNXsLIUY33w2kPT_QdkIAxIECYeB2TpBsyATdwrju6QI7u88w&_nc_ht=scontent.fbkk4-3.fna&oh=ec0a74bb05b3854570757345bb263cbd&oe=5D2EE3B2)

                ผศ.ทัศนียา คัญทะชา ประธานหลักสูตรนาฏยรังสรรค์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา (มรภ.สงขลา) เปิดเผยว่า ตนพร้อมด้วย อ.ยุทธพงศ์ ช่วยนาเขต อาจารย์หลักสูตรนาฏศิลป์และการแสดง นำสมาชิกทีมศิลป์สร้างสรรค์สงขลา ซึ่งเกิดจากการรวมตัวกันของนักศึกษาหลักสูตรนาฏยรังสรรค์และดนตรีไทย มรภ.สงขลา นักเรียน ร.ร.แจ้งวิทยา ร.ร.ทับช้างวิทยาคม อ.นาทวี ร.ร.คณะราษฎรบำรุง จ.ยะลา และนักดนตรีอิสระจากนครศรีธรรมราชที่ชื่นชอบการแสดงพื้นบ้านเหมือนกัน เข้าร่วมการประกวดดนตรีและการแสดงพื้นบ้าน รอบชิงชนะเลิศ ประจำปี 2562 รวมศิลป์ แผ่นดินสยาม เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ณ โรงละครเคแบงก์สยามพิฆเนศ กรุงเทพมหานคร ผลปรากฏว่าทีมศิลป์สร้างสรรค์สงขลา ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ภาคใต้ รับถ้วยเกียรติยศจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม พร้อมเกียรติบัตรและเงินรางวัล 80,000 บาท 

(https://scontent.fbkk4-2.fna.fbcdn.net/v/t1.0-9/58734989_1121866314686693_5129834377710141440_n.jpg?_nc_cat=102&_nc_eui2=AeG32JOgINx3l1o7rXseLSwfpGyxiNemamBvSEBVzZ6Lan3EBBrkUfnVv-llokCoW-c4B9Gf2sbM2MmVA6-q-72AVnowKg0eoRmn_HHWH0YUMA&_nc_ht=scontent.fbkk4-2.fna&oh=602b5292c583d28431b138f92d9c2b2c&oe=5D35AADC)

                ผศ.ทัศนียา กล่าวว่า ทีมศิลป์สร้างสรรค์สงขลาผ่านการคัดเลือกรอบตัวแทนภาคใต้ จาก 10 ทีมคัดเหลือ 3 ทีมเพื่อไปแข่งขันรอบชิงชนะเลิศที่กรุงเทพฯ ซึ่งการแสดงที่ใช้ประกวดค่อนข้างยาก ต้องร้อยเรียงการแสดงพื้นบ้านภาคใต้ 5 ประเภท ได้แก่ ลิเกป่า โนราตัวอ่อน รองเง็ง ซัมเป็ง และ ลิเกร์ฮูลู ให้สวยงามกลมกลืน จึงต้องดึงเครือข่ายมาช่วยซ้อม แม้สมาชิกในทีมจะมีความหลากหลาย แต่การฝึกซ้อมร่วมกันกลับไม่ยากเลย ทุกคนเป็นมืออาชีพ ขณะแสดงบนเวทีมีความเป็นธรรมชาติและสนุกมาก โดยในการแสดงมีอาจารย์ผู้ควบคุมรวม 4 คน ได้แก่  1. ลิเกป่า อ.ยุทธพงศ์ ช่วยนาเขต 2. รองเง็ง ซัมเป็ง ลิเกร์ฮูลู ผศ.ทัศนียา คัญทะชา 3.โนราตัวอ่อน ครูสิรินาฏ หาญณรงค์ ร.ร.แจ้งวิทยา (ศิษย์เก่านาฏยรังสรรค์ มรภ.สงขลา) 4. ดนตรี นายอภิชาติ คัญทะชา จากมหาวิทยาลัยราชมงคลศรีวิชัย เป็นผู้ควบคุมและถ่ายทอดเพลง

(https://scontent.fbkk4-3.fna.fbcdn.net/v/t1.0-9/57431186_1121866384686686_7666216005714051072_n.jpg?_nc_cat=106&_nc_eui2=AeFIZkXEm1gupVKYFczmp8H6Usif2LNaBL-GyDdQBxKgpVAaSIERsgmzeH7UUsGwMMPrgMQs9e24syrSy3uPmcXSdosBdXTORWEQOf0rFSOopw&_nc_ht=scontent.fbkk4-3.fna&oh=dca2d87891eeaaf41ca6a04cdeb52da5&oe=5D3633C2)

                “ในฐานะหนึ่งในทีมผู้ฝึกสอน รู้สึกดีใจและภูมิใจที่มีโอกาสได้นำการแสดงพื้นบ้านภาคใต้ทั้ง 5 ประเภท มานำเสนอต่อสายตาสาธารณชน เพราะปัจจุบันการแสดงพื้นบ้านบางอย่างกำลังจะสูญหายไป ไม่ก็ประสบปัญหาขาดผู้สืบทอด อย่างเช่นลิเกป่า แต่เราก็ไปเก็บข้อมูลจากคณะลิเกป่าบ้านคลองปะเหลียน แล้วนำพัฒนาให้น่าสนใจมากยิ่งขึ้น นอกจากนั้น ยังรู้สึกดีใจมากๆ ที่มีเด็กและเยาวชนในทีม รวม 28 คน รักในศิลปะการแสดงพื้นบ้านเช่นเดียวกับเรา พวกเขาเหล่านี้จะเป็นผู้สืบทอดและนำพาให้การแสดงพื้นบ้านภาคใต้อยู่รอดต่อไป ไม่สูญหายไปจากภาคใต้บ้านเรา” ประธานหลักสูตรนาฏยรังสรรค์ กล่าว

(https://scontent.fbkk4-1.fna.fbcdn.net/v/t1.0-9/59412293_1121866401353351_7705636950723526656_n.jpg?_nc_cat=107&_nc_eui2=AeHawZtDOmrh3qCfxanlmt8SG3KkS17nePsj10hWKotSaxwNbGgeqG-lRqUzdbLBUONkeGIIdTKqXJjdw1_3ZLLNMkYtZbfQn4DCctPoYAcVVQ&_nc_ht=scontent.fbkk4-1.fna&oh=ba842c2c756758369d710a7331588b1a&oe=5D76298E)

                ด้าน นายกายสิทธิ์ ศิริแสง นักศึกษาปีที่ 3 หลักสูตรนาฏยรังสรรค์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ มรภ.สงขลา ผู้รับบทเป็นแขกแดง ลิเกป่า กล่าวว่า สิ่งที่ภูมิใจที่สุดคือได้รับโอกาสให้ร้องเพลงเทิดพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ซึ่งประพันธ์โดย อ.มลิวัลย์ ทองขวัญ ครูภาษาไทย  ร.ร.หาดใหญ่รัฐประชาสรรค์ ศิษย์เก่าเอกภาษาไทย มรภ.สงขลา ซึ่งในการแข่งขันรอบชิงชนะเลิศระดับประเทศ วินาทีที่ประกาศชื่อทีมศิลป์สร้างสรรค์สงขลา ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 รู้สึกดีใจที่สุดแล้ว และที่ภาคภูมิใจมากกว่านั้นก็คือ ได้ร่วมสืบสานศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้านภาคใต้ และได้เผยแพร่วัฒนธรรมให้คนทั่วประเทศได้รู้ว่าศิลปวัฒนธรรมของภาคใต้บ้านเรานั้น มีเสน่ห์และมีลวดลายลีลาที่สวยงามมากเพียงใด

(https://scontent.fbkk3-3.fna.fbcdn.net/v/t1.0-9/58596737_1121866374686687_2978136945885970432_n.jpg?_nc_cat=104&_nc_eui2=AeGVCQiidajj-zMniJSnHdYlfd1uXa0BaYPssnYj_BVW4SdV75ZbVGNn1P0palugF7Db5s1zLK12bV8kmeATNDwPJNf4z64i7GPLI7gHIv7DFw&_nc_ht=scontent.fbkk3-3.fna&oh=15cc1a28a6232c16a4cae99aecd3b6a1&oe=5D67EB45)