Khawchawbannews

ข่าวการศึกษา => ข่าวการศึกษา => ข้อความที่เริ่มโดย: system man ที่ พฤศจิกายน 21, 2018, 09:29:15 AM

หัวข้อ: มรภ.สงขลา ฝึก นศ.เกษตรปลูกถั่วแระญี่ปุ่น
เริ่มหัวข้อโดย: system man ที่ พฤศจิกายน 21, 2018, 09:29:15 AM
มรภ.สงขลา ฝึก นศ.เกษตรปลูกถั่วแระญี่ปุ่น

(http://www.khawchawbannews.com/board/index.php?action=dlattach;topic=491.0;attach=2158;image)

                คณะเทคโนโลยีเกษตร มรภ.สงขลา สอนนักศึกษาปลูกถั่วแระญี่ปุ่น เผยเป็นพืชส่งออกที่น่าจับตา ปลูกได้เกือบตลอดทั้งปี แถมมีความสามารถตรึงไนโตรเจน ช่วยเกษตรกรลดใช้สารเคมีได้อย่างดี

(https://scontent.fbkk3-3.fna.fbcdn.net/v/t1.0-9/46492593_1012669958939663_7074805455800762368_n.jpg?_nc_cat=104&_nc_eui2=AeH6ERGt36kGNk7hq6W60FUXnun0nwFkLMfGYwK2H7mV48wfS6V44daXsegBZun6DmOnRZv2zfLXZ-Htc_JyhAbpfwjUUfaGwP2ZnLTx3yTO6g&_nc_ht=scontent.fbkk3-3.fna&oh=5d73ce913df50e61b53d0ec67aaf90bb&oe=5C6D7280)

                อ.ธัชวีร์ ขวัญแก้ว โปรแกรมวิชาเทคโนโลยีการเกษตร ในฐานะอาจารย์ประจำสถานีปฏิบัติการพืชไร่ คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา (มรภ.สงขลา)  เปิดเผยว่า ในการเรียนวิชาพืชไร่เศรษฐกิจ นักศึกษาของทางคณะฯ จะได้เรียนรู้เกี่ยวกับการปลูกพืชชนิดต่างๆ หนึ่งในนั้นคือถั่วแระญี่ปุ่นหรือที่บางคนเรียกว่า “ถั่วเหลืองผักสด” โดยทางคณะฯ นำสายพันธุ์ KPS 292 มาจากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน และเป็นสายพันธุ์เดียวกับที่จำหน่ายในร้านสะดวกซื้อ เหตุที่เรียกว่าถั่วแระญี่ปุ่น เนื่องจากผลผลิตส่วนใหญ่ส่งออกไปยังประเทศดังกล่าว แม้ญี่ปุ่นจะปลูกอยู่แล้วแต่ผลผลิตยังไม่เพียงพอกับความต้องการของตลาด ถั่วแระญี่ปุ่นจึงถือเป็นพืชที่น่าสนใจ หากเกษตรกรหรือประชาชนรายใดสนใจสามารถเข้ามาศึกษาดูงานและขอคำแนะนำจากแหล่งเรียนรู้ของคณะเทคโนโลยีการเกษตรได้ ในส่วนของนักศึกษาต้องดูแลทุกขั้นตอนตั้งแต่แรก เพื่อให้เกิดกระบวนการเรียนรู้อย่างแท้จริง

(https://scontent.fbkk4-1.fna.fbcdn.net/v/t1.0-9/46516198_1012669982272994_2518817762973843456_n.jpg?_nc_cat=111&_nc_eui2=AeFmX7Qqxu0jr9iwhmxsXRArPzDZ3XwfsA6oogd7O3ArXA02MSJKUc9u5ZvCfajXuHc_lDhNzrHDnufkym-2jVVgs3-O9tdaa7SIVPA33nZmug&_nc_ht=scontent.fbkk4-1.fna&oh=579ff324c439fcd264196f3178ad1ebf&oe=5C824565)

                อ.ธัชวีร์ กล่าวว่า ถั่วแระญี่ปุ่นมีรสชาติหวานอร่อย เนื้อละเอียด ที่สำคัญ ปลูกง่ายมากแทบไม่ต้องใช้ยาฆ่าแมลงเลย และสามารถปลูกได้เกือบตลอดทั้งปี ยกเว้นช่วงเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม ที่มีฝนตกหนัก ชอบดินร่วน ดินร่วนปนทราย ระบายน้ำได้ดี ใช้ระยะเวลาตั้งแต่เริ่มปลูกจนถึงเก็บเกี่ยวประมาณ 70 วัน เป็นพืชที่มีการปลูกมานานแล้วโดยเฉพาะในภูมิภาคอื่นๆ แต่ในภาคใต้เริ่มนิยมเมื่อไม่นานมานี้ สำหรับระยะปลูก 30x20เซนติเมตร 30 คือ ระยะระหว่างแถว ส่วน 20 คือ ระยะระหว่างต้น อัตราปลูก 3 เมล็ดต่อหลุม และมีโอกาสงอกสูงถึง 80-90% ขึ้นอยู่คุณภาพของเมล็ดพันธุ์ด้วย ผลผลิตในการเก็บเกี่ยวแต่ละ 1 ไร่อยู่ที่ปริมาณ 750-800กิโลกรัม/ไร่ ผลตอบแทนราคาต่อกิโลกรัมอยู่ที่ 40-60 บาท (ราคาฝักสดมาตรฐาน) นอกจากนั้น เกษตรกรยังสามารถเก็บเมล็ดพันธุ์ไว้เพาะปลูกในรอบต่อไปได้ โดยคุณภาพยังดีเช่นเดิม ลักษณะทางพันธุกรรมไม่เปลี่ยนแปลง


(https://scontent.fbkk4-3.fna.fbcdn.net/v/t1.0-9/46493077_1012669848939674_630373780258029568_n.jpg?_nc_cat=106&_nc_eui2=AeGLgqo-9MGWjV7aH9sXPs9TSvfOOWVzkPZCkFftbwYytIYxSdBMOmS6Iq8jXjHFNSEl2EHtnHx6LR2FjW5ux85eVAWusi470Recror_5-0xAQ&_nc_ht=scontent.fbkk4-3.fna&oh=ec57ca915b3841718e6d6f7002c25385&oe=5C6740AD)

                อาจารย์ประจำสถานีปฏิบัติการพืชไร่ กล่าวอีกว่า พืชตระกูลถั่วมีข้อดีคือมีความสามารถในการตรึงไนโตรเจนเอาไว้ได้ จึงช่วยลดการใช้ปุ๋ยหรือสารเคมีได้เป็นอย่างดี ทั้งยังไม่ก่อให้เกิดมลพิษกับสิ่งแวดล้อม อยากให้เกษตรกรเพิ่มความระมัดระวังเรื่องการใช้ปุ๋ยให้เหมาะสมกับพืชแต่ละชนิด สำหรับพืชตระกูลถั่วควรหลีกเลี่ยงปุ๋ยเดี่ยวไนโตรเจน เช่น สูตร 46-0-0 (ยูเรีย) หรือ 21-0-0 (แอมโมเนียมซัลเฟต) เนื่องจากเป็นการเพิ่มปริมาณไนโตรเจนโดยไม่จำเป็น แต่ควรเลือกใช้สูตร 15-15-15 หรือ 18-24-24 เพราะมีอัตราส่วนปริมาณฟอสฟอรัสและโพเเทสเซียมสูงพอเหมาะ ซึ่งพืชตระกูลถั่วไม่สามารถสร้างเองได้และจำเป็นต้องได้รับจากดิน

(https://scontent.fbkk3-1.fna.fbcdn.net/v/t1.0-9/46483070_1012669855606340_3269720329991225344_n.jpg?_nc_cat=108&_nc_eui2=AeE6SMyy1vHTlVTWVTwM7Luz9wvXz6XKvf9fpFtNG-kxnq-2Qom5fr69njVP68aOJT1Zl67hOESoZz_oYGBbHoq0T0aEY22rHPQwKqeOH27X-g&_nc_ht=scontent.fbkk3-1.fna&oh=113db67b19709aaa669ddc2ea385089c&oe=5C6BB9F5)

               ด้าน น.ส.ศุภนิดา จันทอง นักศึกษาชั้นปีที่ 4 โปรแกรมวิชาเกษตรศาสตร์ และ น.ส.จินตนาภา ดำกลึง โปรแกรมเทคโนโลยีเกษตร แขนงวิชาการผลิตพืช กล่าวว่า เหตุผลที่เลือกเรียนทางด้านเกษตรก็เพื่อนำความรู้ไปพัฒนาและต่อยอดให้กับตนเองและชุมชน ถือเป็นความท้าทายที่หากเรียนด้านอื่นอาจไม่ได้ทำในลักษณะนี้ เริ่มตั้งแต่ขุดดิน เตรียมแปลง ไปจนถึงออกจำหน่ายผลิตผล ตนและเพื่อนๆ ได้เรียนรู้ในทุกกระบวนการ คิดว่าตัดสินใจถูกแล้วที่เรียนเกษตรซึ่งเป็นศาสตร์ที่สามารถนำไปใช้จริง โดยที่ผ่านมาคนในชุมชนเคยมาขอความรู้เรื่องการเตรียมดิน ปลูกพืช ตนจึงอยากให้คนรุ่นใหม่หันมาเรียนเกษตรกันให้มากขึ้น เพราะการเรียนในศาสตร์แขนงนี้เมื่อจบออกไปแล้วไม่ใช่แค่ปลูกผัก เลี้ยงปลา แต่จริงๆ แล้วความรู้กว้างกว่านั้นมาก เช่น เป็นนักวิชาการในโครงการหลวง เป็นต้น ซึ่งตนเคยไปฝึกงานที่นั่นและอยากกลับไปอีก

(https://scontent.fbkk4-1.fna.fbcdn.net/v/t1.0-9/46482421_1012669852273007_3261707995486093312_n.jpg?_nc_cat=107&_nc_eui2=AeGKH5gUTOw-0Lu9iF3tU3neGF7nwcN7g8CyuqH9r1paf2mlJMxlL8N_mWk4rGmRykzzBIpEQnPw6H5rTsnip3KPoggC2JowmBMFh7j7PKoxbQ&_nc_ht=scontent.fbkk4-1.fna&oh=7b3a16fbb92be7cd0aa0651cad4eab82&oe=5C7E2448)

(https://scontent.fbkk3-3.fna.fbcdn.net/v/t1.0-9/46474637_1012669895606336_4032594216403075072_n.jpg?_nc_cat=103&_nc_eui2=AeHvM4gGsUFI-N3WtGqVitntlZ10SYMySNQGq4SO3Paz9i-rKZgWmXC9YzFhPawUvcpk_P_DdVk61j1OGt9y9iY9Dn3seetWTu_eOUvBfsaJ4w&_nc_ht=scontent.fbkk3-3.fna&oh=51a386a3f52d07dbc0a2167f23871b4d&oe=5CB01EAF)

(https://scontent.fbkk4-3.fna.fbcdn.net/v/t1.0-9/46519237_1012669898939669_3857190513698406400_n.jpg?_nc_cat=106&_nc_eui2=AeEEzIRNlKgLY0JyjeZAcGzAAE2lvKABh1ACcGa5QNstQqmI1kCkdJrNVkwclQzQOSamyG3rRlziWroKiyjmPohhzpbLYEpLLl5ZFyD9GVeRVg&_nc_ht=scontent.fbkk4-3.fna&oh=493171315c4048ef9d0ba84ff7e872c9&oe=5C752AA8)

(https://scontent.fbkk3-1.fna.fbcdn.net/v/t1.0-9/46485449_1012669905606335_276950391873077248_n.jpg?_nc_cat=101&_nc_eui2=AeFNCxF1l1O086qvS-DjESGxbUKKNVBIjm7pF1eOQih2Gc9P3_JBzXEJ3-CFJtNnTe6wDxH1Vck8HJlQiuhEibk-da0L-8HBph7ff1cY1VIFzg&_nc_ht=scontent.fbkk3-1.fna&oh=410bf2274d69e19441c6aba2bb3ebced&oe=5C6C4F30)

(http://)