Khawchawbannews

ข่าวการศึกษา => ข่าวการศึกษา => ข้อความที่เริ่มโดย: system man ที่ มีนาคม 13, 2019, 12:11:28 PM

หัวข้อ: มรภ.สงขลา เปิดบ้านรับ ‘ออมสินยุวพัฒน์รักษ์ถิ่น’นศ. โชว์ 7 โครงงานพัฒนากลุ่มวิสาห
เริ่มหัวข้อโดย: system man ที่ มีนาคม 13, 2019, 12:11:28 PM
มรภ.สงขลา เปิดบ้านรับ ‘ออมสินยุวพัฒน์รักษ์ถิ่น’นศ. โชว์ 7 โครงงานพัฒนากลุ่มวิสาหกิจชุมชน


(http://www.khawchawbannews.com/board/index.php?action=dlattach;topic=578.0;attach=2354;image)


                ศูนย์วิทยาศาสตร์ มรภ.สงขลา เปิดบ้านรับโครงการออมสินยุวพัฒน์รักษ์ถิ่น นักศึกษาโชว์กึ๋น นำเสนอ 7 ผลงานพัฒนากลุ่มวิสาหกิจชุมชน ผสมผสานภูมิปัญญาเข้ากับวิทยากรสมัยใหม่ ปูทางสู่อาชีพ


(https://scontent.fbkk3-2.fna.fbcdn.net/v/t1.0-9/53795376_1090335181173140_5517270548414988288_n.jpg?_nc_cat=106&_nc_eui2=AeGCnlEuKxtNowD_ZiV640xV35o-C7qgozjrp2zduk4AP2iLqcDgr0xbLkMjOhQdRP-qxM7amISUHOYUDSUHp_C3FW_T31YDSASVvQ8a7hNlFw&_nc_ht=scontent.fbkk3-2.fna&oh=35b528a2f17b3bcb034bc949edaa5c20&oe=5D0DC6AD)

                ผศ.ดร.นิวัต กลิ่นงาม อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา กล่าวระหว่างเป็นประธานเปิดโครงการ ออมสินยุวพัฒน์รักษ์ถิ่น ปี 2562 ณ ศูนย์วิทยาศาสตร์ มรภ.สงขลา เมื่อเร็วๆ นี้ว่า กิจกรรมในครั้งนี้เป็นการนำเสนอโครงการย่อยในโครงการออมสินยุวพัฒน์รักษ์ถิ่น โดยมีนักศึกษา มรภ.สงขลา นำเสนอโครงงานเพื่อพัฒนากลุ่มวิสาหกิจชุมชนในเขตพื้นที่ จ.สงขลา รวม 7 กลุ่ม ได้แก่ 1. กลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มเลี้ยงนกกระทาบ้านบ่อเตี้ย 2. กลุ่มแม่บ้านไข่เค็มกะทิสดใบเตย 3. กลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ้านหัวทรายขาว


(https://scontent.fbkk4-2.fna.fbcdn.net/v/t1.0-9/54434326_1090335201173138_1690043023653601280_n.jpg?_nc_cat=110&_nc_eui2=AeEi4kBFv5eoT42dHPWJaMxPf5kSBBri8Be6VQqjCv2_A880RkS06E-GerAdipP7Wek79ZDiCVsrf1YKwv-WlLDH-zNV5H8t1_mMlkfNB6cdCw&_nc_ht=scontent.fbkk4-2.fna&oh=9670a122dafd95769fd13e7d7aac952b&oe=5D1B1ECC)

4. กลุ่มแม่บ้านตำบลปากรอ 5. กลุ่มขนมเปี๊ยะ 6. กลุ่มเกษตรกรแปลงใหญ่ผึ้งโพรง 7. กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านเกาะแต้ว ซึ่งจะทำให้นักศึกษาได้รับความรู้ความเข้าใจ เห็นคุณค่าของทรัพยากรและภูมิปัญญาท้องถิ่น ฝึกทักษะการเป็นผู้ประกอบการโดยมีโอกาสพัฒนาเป็นอาชีพ เพื่อให้มีรายได้เลี้ยงตนเองได้ ขณะเดียวกันมหาวิทยาลัยสามารถเป็นแหล่งเรียนรู้ทางวิทยากรสมัยใหม่ที่สร้างประโยชน์เป็นรูปธรรม สามารถวัดและประเมินผลได้อย่างชัดเจน รวมทั้งสามารถพัฒนาองค์ความรู้เป็นหลักการ แนวทางในการพัฒนาหลักสูตรที่มีประสิทธิภาพ


(https://scontent.fbkk3-1.fna.fbcdn.net/v/t1.0-9/54200994_1090335264506465_5058963148128649216_n.jpg?_nc_cat=105&_nc_eui2=AeHxVHXGHM5O3YBUKHwLDu_lUlIRIyTiqEpVOZlCEdrVkQgcKHrOznT-3un5UhWnnmudP0YuDSuSgouFdkYUDa-Gk49NqlxDJvLeTxe5cVJYPA&_nc_ht=scontent.fbkk3-1.fna&oh=0665c51b9b8447b9a4ddcbc1a7716e16&oe=5D171AC3)

                ผศ.ดร.ทวีสิน นาวารัตน์ ผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์ มรภ.สงขลา กล่าวว่า สำหรับรูปแบบการจัดกิจกรรม ธนาคารออมสินร่วมมือกับสถาบันอุดมศึกษา ลงพื้นที่ดำเนินกิจกรรมเสริมสร้างและพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่น โดยการศึกษา วิเคราะห์ และพัฒนาองค์ความรู้ทางธุรกิจ นำมาประยุกต์ใช้ในการวางแผนและแก้ไขปัญหา แบ่งปันองค์ความรู้ในการพัฒนาและประเทศชาติ เพื่อให้ชุมชนเข้มแข็งอย่างยั่งยืนด้วยการร่วมเรียน ร่วมรู้ และร่วมทำ สามารพัฒนามูลค่าของผลิตผลให้เกิดมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจ สร้างมูลค่าเพิ่มในผลิตภัณฑ์ และบริการแก่กลุ่มองค์กรชุมชน ต่อยอดภูมิปัญญาท้องถิ่น และสร้างโอกาสทางการตลาด ส่งผลต่อความเข้มแข็งของระบบเศรษฐกิจฐานรากอย่างยั่งยืน รวมถึงสามารถฝึกทักษะการเป็นผู้ประกอบการ โดยผสมผสานภูมิปัญญาในท้องถิ่นกับความรู้ทางวิทยากรสมัยใหม่ เพื่อให้เกิดอาชีพและรายได้ที่มั่นคง 

(https://scontent.fbkk4-3.fna.fbcdn.net/v/t1.0-9/53596216_1090335257839799_1981694302601871360_n.jpg?_nc_cat=109&_nc_eui2=AeGH45aPFQ5nDUkIdM7oL443kDI8uiexk5bLGtUai8bPHFqvktWvv83wcw8qDaYXk_reTagYCC9gk1J4TS01uIH8BzD83vmB6cPF4jUmB-korA&_nc_ht=scontent.fbkk4-3.fna&oh=615b8f745c41de6048945d95bbe7faaf&oe=5D057C39)

                ด้าน นายจิระ จันทวงศ์ ผู้อำนวยการธนาคารออมสินเขตสงขลา 1 กล่าวว่า ธนาคารออมสินมีนโยบายและแผนงาน ประจำปี 2562 ในการจัดกิจกรรมด้านการเสริมสร้างและพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่น โดยการบูรณาการภูมิปัญญาและวิทยาการสมัยใหม่ของสถาบันอุดมศึกษากับภูมิปัญญาและทรัพยากรท้องถิ่น เพื่อสร้างกระบวนการในการเสริมสร้างและพัฒนา ยกระดับขีดความสามารถในการประกอบการของกลุ่มชุมชนที่รวมตัวกันสร้างผลิตภัณฑ์หรือบริการให้มีศักยภาพ มีมูลค่าเพิ่ม สามารถยกระดับคุณภาพผลิตภัณฑ์หรือบริการ ให้ตอบสนองความต้องการของตลาด ซึ่งเป็นการเสริมความมั่นคงในอาชีพและรายได้ การมีวินัยทางการเงินและศักยภาพในการเข้าถึงแหล่งเงินทุนให้แก่ประชาชนในแต่ละท้องถิ่นให้มีความมั่นคง เกิดผลที่ยั่งยืน ในขณะเดียวกันนิสิตนักศึกษาของสถาบันอุดมศึกษาที่เข้าร่วมโครงการจะเกิดการเรียนรู้ เข้าใจในวิถีชีวิต เอกลักษณ์และภูมิปัญญาท้องถิ่น ตระหนักถึงความสำคัญของภูมิปัญญาไทยและทรัพยากรอันมีค่า เพื่อจะช่วยกันจรรโลงรักษาให้อยู่คู่สังคมไทยสืบต่อไป

(https://scontent.fbkk4-1.fna.fbcdn.net/v/t1.0-9/53847921_1090335261173132_4832843084318375936_n.jpg?_nc_cat=111&_nc_eui2=AeGNLjyydX1JQ74iWSRWRPb51SQyWhg3o_cC7etFZmJWifwZi_R_waU17Er1EFDFjKjQ2NSceOuiaKpHeUGyCyADvwbXfeD76igi88rZX5U4Fw&_nc_ht=scontent.fbkk4-1.fna&oh=2318a87f29acbb2ae67547f454447548&oe=5D250B78)