Khawchawbannews

ข่าวชาวบ้าน => ข่าวชาวบ้าน => ข้อความที่เริ่มโดย: system man ที่ มีนาคม 15, 2019, 02:01:21 PM

หัวข้อ: มรภ.สงขลา นำ นศ.เกษตร อนุรักษ์พันธุ์ข้าวพื้นเมือง
เริ่มหัวข้อโดย: system man ที่ มีนาคม 15, 2019, 02:01:21 PM
มรภ.สงขลา นำ นศ.เกษตร อนุรักษ์พันธุ์ข้าวพื้นเมือง

(http://www.khawchawbannews.com/board/index.php?action=dlattach;topic=579.0;attach=2356;image)

คณะเทคโนโลยีการเกษตร มรภ.สงขลา นำนักศึกษาลงแขกเกี่ยวข้าว สืบสานวัฒนธรรมท้องถิ่นตามแนวพระบรมราโชบาย พร้อมถ่ายทอดความรู้เกษตรกรเข้าใจวิธีคัดเลือก-เก็บรักษาเมล็ดพันธุ์ข้าวพื้นเมือง ช่วยลดต้นทุนผลิต


(https://scontent.fbkk2-7.fna.fbcdn.net/v/t1.0-9/53900739_1091455641061094_8562528431454027776_n.jpg?_nc_cat=110&_nc_ht=scontent.fbkk2-7.fna&oh=fbf106715e2845aae09c357b43b118b9&oe=5D07CAEC)

               ดร.มงคล เทพรัตน์ คณบดีคณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา (มรภ.สงขลา) เปิดเผยว่า เมื่อเร็วๆ นี้ทางคณะฯ จัดทำโครงการสืบสานวัฒนธรรมข้าว ตามแนวพระบรมราโชบาย ถวายในหลวงรัชกาลที่ 10 โดยนำนักศึกษาร่วมประเพณีลงแขกเกี่ยวข้าวในพื้นที่ ต.เกาะแต้ว อ.เมือง จ.สงขลา และให้ความรู้ความเข้าใจแก่เกษตรกรในพื้นที่ราว 40 คน เกี่ยวกับการคัดเลือกและการเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์ข้าวอย่างถูกวิธี เพื่อแก้ปัญหาการขาดแคลนเมล็ดพันธุ์ข้าวพื้นเมืองบริสุทธิ์และคุณภาพดี รวมทั้งช่วยอนุรักษ์พันธุ์ข้าวพื้นเมืองไม่ให้สูญหาย สามารถนำพันธุ์ข้าวที่คัดไว้ใช้เป็นพ่อแม่พันธุ์ที่ดีสำหรับการปรับปรุงพันธ์ต่อไปในอนาคต ตลอดจนเพื่อให้เห็นถึงความสำคัญของประเพณีการลงแขก และปลูกจิตสำนึกให้เยาวชนให้ความสำคัญกับอาชีพเกษตรกรรมมากยิ่งขึ้น ทั้งยังเป็นการส่งเสริมวัฒนธรรมประเพณีที่มีมาแต่เดิมของไทย และเป็นการพัฒนาท้องถิ่นตามพระบรมราโชบายอย่างยั่งยืน

(https://scontent.fbkk2-8.fna.fbcdn.net/v/t1.0-9/54070293_1091455654394426_5829525781914583040_n.jpg?_nc_cat=102&_nc_ht=scontent.fbkk2-8.fna&oh=6f8c8e8a8dfe64bdc5b59ceefc0be851&oe=5D095591)

               ดร.มงคล กล่าวว่า มรภ.สงขลา เป็นหนึ่งในมหาวิทยาลัยราชภัฏทั่วประเทศที่เข้าร่วมยุทธศาสตร์ใหม่ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นตามพระบรมราโชบาย ระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2560-2579) โดยหนึ่งในพันธกิจที่สำคัญ คือ ให้บริการทางวิชาการ ถ่ายทอดเทคโนโลยี น้อมนำแนวพระราชดำริ และทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม ซึ่งมีแนวทางที่จะพัฒนาท้องถิ่นตามพระบรมราโชบายได้ โดยการสร้างและถ่ายทอดองค์ความรู้ทางวิชาการ วิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรม และภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านการเกษตรแบบมีส่วนร่วม ซึ่งคณะเทคโนโลยีการเกษตรดำเนินโครงการบริการวิชาการอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ พ.ศ. 2560 เพื่อเพิ่มทักษะวิชาชีพและพัฒนาอาชีพของกลุ่มเกษตรกรให้มีความมั่นคงและยั่งยืนให้แก่ชุมชน ต.เกาะแต้ว ภายใต้โครงการ การอนุรักษ์และการใช้ประโยชน์พันธุ์ข้าวพื้นเมือง

(https://scontent.fbkk2-7.fna.fbcdn.net/v/t1.0-9/54432942_1091455704394421_8424363486775083008_n.jpg?_nc_cat=106&_nc_ht=scontent.fbkk2-7.fna&oh=6a41cf73e85da616e6b8420c73daf829&oe=5D1B88E2)

               ด้าน ผศ.ดร.อมรรัตน์ ชุมทอง รองคณบดีฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ คณะเทคโนโลยีการเกษตร  มรภ.สงขลา ผู้รับผิดชอบโครงการ กล่าวว่า กลุ่มเกษตรกรในพื้นที่เป้าหมายมีการปลูกข้าวพันธุ์พื้นเมืองหลากหลายสายพันธุ์ ได้แก่ เล็บนก หอมกระดังงา หอมจันทร์ ดอกพะยอม รวงรี ลูกปลา ดำเบา จำปา เป็นต้น ซึ่งพันธุ์ข้าวเหล่านี้สามารถปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมท้องถิ่นได้ดี ทั้งยังทนทานต่อการเข้าทำลายของโรคและแมลงศัตรู สามารถจัดการผลิตแบบอินทรีย์ได้ง่าย นอกจากนี้ ข้าวพันธุ์พื้นเมืองแต่ละสายพันธุ์มีคุณค่าทางโภชนาการแตกต่างกัน และมีคุณสมบัติที่ดีเกี่ยวกับความหอมนุ่มและรสชาติ ทางคณะฯ จึงเล็งเห็นความสำคัญของการฟื้นฟูการปลูกข้าวพื้นเมืองเฉพาะถิ่น และการอนุรักษ์พันธุ์พืชพื้นเมืองในแหล่งที่ปลูก เพื่อช่วยไม่ให้พันธุกรรมข้าวสูญหายไปจากธรรมชาติ และเป็นแหล่งพันธุกรรมที่สามารถจะนำไปใช้ประโยชน์ได้ในอนาคต

(https://scontent.fbkk2-8.fna.fbcdn.net/v/t1.0-9/53743391_1091455707727754_1383496677863718912_n.jpg?_nc_cat=105&_nc_ht=scontent.fbkk2-8.fna&oh=c7613d78da0a1a42da1dff95af1995c3&oe=5D087CD2)

               อาจารย์สันติ หมัดหมัน รองคณบดีฝ่ายพัฒนานักศึกษา คณะเทคโนโลยีการเกษตร กล่าวว่า จากการดำเนินงานโครงการบริการวิชาการใน 2 ปีที่ผ่านมาพบว่า เกษตรกรในชุมชนส่วนใหญ่ไม่ได้ให้ความสำคัญกับการคัดพันธุ์ข้าว และเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์อย่างถูกวิธี จึงทำให้พันธุ์ข้าวพื้นเมืองที่เกษตรกรในชุมชนเกาะแต้วปลูกนั้นมีการปะปนพันธุ์ ส่งผลให้ได้ผลผลิตต่ำลง ทำให้เกษตรกรไม่สามารถพึ่งตนเองได้ ต้องซื้อเมล็ดพันธุ์จากภายนอกเป็นการเพิ่มต้นทุนการผลิต ประกอบกับเกษตรกรยังมีการเก็บเกี่ยวข้าวโดยใช้แกะ ซึ่งต้องใช้แรงงานคนในการเก็บเกี่ยว ทางคณะฯ จึงได้นำนักศึกษาไปร่วมประเพณีการลงแขกเกี่ยวข้าว ที่กำลังหายไปจากสังคมเกษตรกรไทย และเป็นประเพณีที่แสดงให้เห็นถึงความมีน้ำใจช่วยเหลือซึ่งกันและกัน อีกทั้งยังสามารถสร้างความสมัครสมานสามัคคีกันในหมู่บ้าน ชุมชนที่อาศัยอีกด้วย

(https://scontent.fbkk2-8.fna.fbcdn.net/v/t1.0-9/54169415_1091455711061087_7054391068220981248_n.jpg?_nc_cat=102&_nc_ht=scontent.fbkk2-8.fna&oh=c23a0763fa4f8f43c73c018038d03436&oe=5D1F5007)

(https://scontent.fbkk2-7.fna.fbcdn.net/v/t1.0-9/53636768_1091455804394411_2341848793797885952_n.jpg?_nc_cat=101&_nc_ht=scontent.fbkk2-7.fna&oh=69c4e8db1eb7b87bb1ebfdc28f45ea02&oe=5D18DCC7)

(https://scontent.fbkk2-7.fna.fbcdn.net/v/t1.0-9/53891106_1091455801061078_2655538705288134656_n.jpg?_nc_cat=108&_nc_ht=scontent.fbkk2-7.fna&oh=390c4a3e2041b03a3bd1653b1055841e&oe=5D12F3B9)

(https://scontent.fbkk2-8.fna.fbcdn.net/v/t1.0-9/54407662_1091455807727744_5090252865348304896_n.jpg?_nc_cat=102&_nc_ht=scontent.fbkk2-8.fna&oh=7cfe3539f2cd92990506922319fcf640&oe=5D0DCC09)

(https://scontent.fbkk2-7.fna.fbcdn.net/v/t1.0-9/53293088_1091455891061069_104438791296516096_n.jpg?_nc_cat=106&_nc_ht=scontent.fbkk2-7.fna&oh=c541ad2be754184bcaf931b4171c8f61&oe=5D0DC43D)

(http://)