Khawchawbannews

ข่าวการศึกษา => ข่าวการศึกษา => ข้อความที่เริ่มโดย: system man ที่ สิงหาคม 08, 2019, 12:36:34 PM

หัวข้อ: สุดเจ๋ง “เทคโนโลยียางและพอลิเมอร์” มรภ.สงขลาคว้ารางวัลบทความวิจัยดีเด่น 3 ปีซ้อน
เริ่มหัวข้อโดย: system man ที่ สิงหาคม 08, 2019, 12:36:34 PM
สุดเจ๋ง “เทคโนโลยียางและพอลิเมอร์” มรภ.สงขลา คว้ารางวัลบทความวิจัยดีเด่น 3 ปีซ้อน


(http://www.khawchawbannews.com/board/index.php?action=dlattach;topic=701.0;attach=2646;image)


                อาจารย์ นักศึกษา สาขาวิชาเทคโนโลยียางและพอลิเมอร์ มรภ.สงขลา แทคทีมโชว์ผลงานเวทีประชุมวิชาการระดับชาติ คว้ารางวัลบทความวิจัยดีเด่น สาขาวิทยาศาสตร์กายภาพ ติดต่อกัน 3 ปีซ้อน   

(https://scontent.fbkk2-7.fna.fbcdn.net/v/t1.0-9/67774186_1193089600897697_8959482421485502464_n.jpg?_nc_cat=108&_nc_eui2=AeGEoaqEUd92NNWXs5xovTYAdjacX3yooC3SFUaA4ZVFu7tB8KkCJ7jBQAYFv55jTnfpZkC8YQRa3YvuhWf9QchVCLkQ0YdDIcsXMyP-rtgJEQ&_nc_oc=AQm11vUlKi2vUCC41c_re9s_VwHD0nDeIFuE9kVyqX-RzZkv2NnCT4jJC80xoxSEM64&_nc_ht=scontent.fbkk2-7.fna&oh=8a1a6b934871f5186725e3cd5bb4f1cd&oe=5DE8FB09)

                ดร.วัชรินทร์ สายน้ำใส อาจารย์ประจำหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยียางและพอลิเมอร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา (มรภ.สงขลา) เปิดเผยว่า เมื่อเร็วๆ นี้ตนพร้อมด้วยนักศึกษาสาขาวิชาเทคโนโลยียางและพอลิเมอร์ รวม 5 คน คือ น.ส.สุนิสา หัวนา น.ส.มัณฑนา สงไข น.ส.ฟาตีฮะห์ แดวอสนุง น.ส.วาสนา หมัดล่าเตะ และ นายณัฐกานต์ หมันนาเกลือ เข้าร่วมประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 11 ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม ภายใต้แนวคิด “วิจัยสร้างนวัตกรรม เพื่อพัฒนาท้องถิ่นและสังคมไทย สู่ Disruptive Society” ในการนี้ ผลงานวิจัยเรื่อง “การปรับปรุงการอ่อนตัวของความเค้นและพลังงานสูญหายของยางธรรมชาติวัลคาไนซ์โดยใช้แคลเซียมคาร์บอเนตร่วมกับเขม่าดำเกรด N330 เป็นสารตัวเติม” จัดทำโดย สุนิสา หัวนา มัณฑนา สงไข สุไหลหมาน เบญฤทธิ์ และ วัชรินทร์ สายน้ำใส ได้รับรางวัลบทความวิจัยดีเด่น (Best Paper Award) สาขาวิทยาศาสตร์กายภาพ ซึ่ง มรภ.สงขลา ได้รับรางวัลบทความวิจัยดีเด่นติดต่อกันเป็นปีที่ 3 จากเวทีนี้

(https://scontent.fbkk2-8.fna.fbcdn.net/v/t1.0-9/68573827_1193089514231039_1937261036268683264_n.jpg?_nc_cat=105&_nc_eui2=AeEwI9jV516NIR49eL0GVz4KWGQ2MW8mjLMoe55EPeD5cSrSMtq1xW5YhxW1GaYhxMvuW8erl3JgTb_KYC2wwSLxTh-Em24laz7HYRFkWsfkgA&_nc_oc=AQlWokyQIjfe_m2TqWbLhel_NHaCb0l-mjc6r0wt4V_JwrurSW58SK-0Q6H6RHxRfxA&_nc_ht=scontent.fbkk2-8.fna&oh=86d9b6a4cd374d3c636572990a9476bc&oe=5DDA1212)

                ดร.วัชรินทร์ กล่าวว่า ในการเข้าร่วมการประชุมวิชาการระดับชาติครั้งนี้ นอกเหนือจากผลงานวิจัยที่ได้รับรางวัลแล้ว ยังมีงานวิจัยเรื่องอื่นๆ จากอาจารย์และนักศึกษาสาขาวิชาเทคโนโลยียางและพอลิเมอร์ มรภ.สงขลา นำเสนอในรูปแบบโปสเตอร์ กลุ่มสาขาวิทยาศาสตร์กายภาพ ได้แก่ การศึกษาความเป็นไปได้ในการใช้แคลเซียมคาร์บอเนตจากเปลือกหอยแครงเป็นสารตัวเติมในยางธรรมชาติ โดย วาสนา หมัดล่าเตะ และ วัชรินทร์ สายน้ำใส ลักษณะการวัลคาไนซ์ สมบัติทางกายภาพ และการเสื่อมสภาพของยางธรรมชาติผสมแป้งพืชเป็นสารตัวเติม โดย ฟาตีฮะห์ แดวอสนุง นฤปนาถ พลเมือง วัชรินทร์ สายน้ำใส การศึกษาเปรียบเทียบการผ่อนคลายความเค้นของยางแผ่นรมควันและยางแท่งมาตรฐานไทยด้วยเครื่องทดสอบความหนืดมูนนี่ โดย ณัฐกานต์ หมันนาเกลือ ไรฮานา เจะเตะ และ วัชรินทร์ สายน้ำใส


(https://scontent.fbkk2-7.fna.fbcdn.net/v/t1.0-9/67722357_1193089510897706_1623980005665013760_n.jpg?_nc_cat=108&_nc_eui2=AeHBNBQ5h2VyM4h57TiuifviUhbTMho76C1XarNGhWWzxYleoCv-C6ZfVIU6zc2qgguKxa_R4R8LfzgeKwDwuqAZnQ5mqQBRyORVtSLwvFeeSA&_nc_oc=AQkaBXDZ0KOG-8Mxpso2NPZYhLNvEA38gx0s0Fx2w75Rmd33P-_QPEywsjuzvHCmzBA&_nc_ht=scontent.fbkk2-7.fna&oh=2fe6fa0ba6b92e8ae6e231641aa6e0e1&oe=5DE47CCA)

                สำหรับงานวิจัยเรื่อง การปรับปรุงการอ่อนตัวของความเค้นและพลังงานสูญหายของยางธรรมชาติวัลคาไนซ์โดยใช้แคลเซียมคาร์บอเนตร่วมกับเขม่าดำเกรด N330 เป็นสารตัวเติม มีที่มาจากการเล็งเห็นว่ายางธรรมชาติผสมสารตัวเติมที่วัลคาไนซ์แล้ว เมื่อถูกกระทำอย่างต่อเนื่องจะมีการอ่อนตัวของความเค้น หรือเกิดการแตกหักเสียหายได้ ปรากฏการณ์การอ่อนตัวของความเค้นนี้รู้จักกันทั่วไปในชื่อผลของมูลลินส์ (Mullins effect) นอกจากนี้ ยางซึ่งเป็นวัสดุประเภทหยุ่นหนืดจะเกิดการสูญเสียพลังงานจากแรงกระทำอย่างต่อเนื่อง กล่าวคือ แรงที่ใช้ในการผิดรูปจะมากกว่าแรงที่ใช้ในการคืนตัวกลับ โดยพลังงานที่สูญเสียไปนี้จะอยู่ในรูปของพลังงานความร้อนสะสม จึงศึกษาเพื่อปรับปรุงสมบัติการอ่อนตัวของความเค้นและพลังงานสูญหายของยางธรรมชาติวัลคาไนซ์ โดยใช้แคลเซียมคาร์บอเนตร่วมกับเขม่าดำเกรด N330 เป็นสารตัวเติมในปริมาณ 40 phr โดยแปรสัดส่วนของแคลเซียมคาร์บอเนตกับเขม่าดำเกรด N330 เป็น 40/0, 30/10, 20/20, 10/30 และ 0/40 phr


(https://scontent.fbkk2-8.fna.fbcdn.net/v/t1.0-9/67658068_1193089657564358_4104439235329654784_n.jpg?_nc_cat=102&_nc_eui2=AeFE2t_Rxz3tPf_SY8cUy1jTXY4lkAB-jZpJLRHgBDHHQKmW6zsgGcGpPBS_5qDsUMyV586oZi43kyca8MRWkKq6O4zed9xFq2Xz4x52r8CSKA&_nc_oc=AQlIBzVS09RnYs93L2maXfotovqxgHUC2yUi6NzRvii721cFvh4MdOmVJtuS8suoqIY&_nc_ht=scontent.fbkk2-8.fna&oh=c8959163d19681f3b232303358559e81&oe=5DCD43E7)

                “จากการศึกษาพบว่า การใช้แคลเซียมคาร์บอเนตร่วมกับเขม่าดำเกรด N330 เป็นสารตัวเติม สามารถปรับปรุงสมบัติด้านการอ่อนตัวของความเค้นและพลังงานสูญหายของยางธรรมชาติวัลคาไนซ์ได้ ซึ่งสมบัติดังกล่าวมีค่าสูงขึ้นตามสัดส่วนของเขม่าดำเกรด N330 ในสารตัวเติมผสมที่เพิ่มขึ้น สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในอุตสาหกรรมยางต่อไป” ดร.วัชรินทร์ กล่าว

(https://scontent.fbkk2-8.fna.fbcdn.net/v/t1.0-9/67749000_1193089617564362_8409055244079595520_n.jpg?_nc_cat=107&_nc_eui2=AeFAWkvd8LzVUs7XcRYC-CGMjenluyh_bBts2oJJLvo8ZYJqtid089rwKs7uQyr6R-_RY8LUuZlXZQQmGT22rD3hQsx-SKr46FZ3c7PjoC5DuQ&_nc_oc=AQkrpo6BOaQAu90F62bUzcEbgjOqNkM0m9Gq74cA8GC3P4FenP6UM2izHUQuCXwCLAc&_nc_ht=scontent.fbkk2-8.fna&oh=e6f3273ff07ded8bfac981a75f18baad&oe=5DA1B1A6)

(https://scontent.fbkk2-8.fna.fbcdn.net/v/t1.0-9/67647697_1193089704231020_2599590326691692544_n.jpg?_nc_cat=103&_nc_eui2=AeFX-1f0PiXAgdnwqEVtDY9S1X73J1o2QndJydE827CcGPEHnwvYtHIGwh9Tvw8m_Q5CZa9vaxJKtgzCzSUp2wgAC1q4jt-rV5gdk2gRh9IN6Q&_nc_oc=AQmQwjeMP8Ov1sJAWXScHC84c1swHrDzFMHM6j8OY9g3wycC8nxCJnc26YuMaSwhsbY&_nc_ht=scontent.fbkk2-8.fna&oh=599a46dc3f5f046a2851cc5152fca4a1&oe=5DEE0474)