Khawchawbannews

ข่าวการศึกษา => ข่าวการศึกษา => ข้อความที่เริ่มโดย: system man ที่ กันยายน 03, 2019, 11:21:41 AM

หัวข้อ: มรภ.สงขลา ห่วง “สาหร่ายผมนาง” พืชท้องถิ่นลดปริมาณเร่งศึกษาการใช้ประโยชน์
เริ่มหัวข้อโดย: system man ที่ กันยายน 03, 2019, 11:21:41 AM
มรภ.สงขลา ห่วง “สาหร่ายผมนาง” พืชท้องถิ่นลดปริมาณเร่งศึกษาการใช้ประโยชน์ ส่งเสริมความรู้คุณค่าทางอาหาร

(http://www.khawchawbannews.com/board/index.php?action=dlattach;topic=724.0;attach=2716;image)


                คณะเทคโนโลยีการเกษตร มรภ.สงขลา ห่วงสาหร่ายผมนางมีปริมาณลดน้อยลง เหตุสภาพแวดล้อมเปลี่ยนแปลง เร่งศึกษาการใช้ประโยชน์อย่างกว้างขวาง ควบคู่ส่งเสริมความรู้คุณค่าทางอาหาร พร้อมปลูกฝังคนรุ่นใหม่ร่วมอนุรักษ์พืชท้องถิ่น


(https://scontent.fbkk3-3.fna.fbcdn.net/v/t1.0-9/69649352_1211692662370724_7319042026673012736_n.jpg?_nc_cat=103&_nc_eui2=AeEcqORFHtmQSFmButFpccx3J0lXUpOU0P-7BlgNJwwUtduPhTuqDpwfgePkBxTC-0i1dB--JmZRAVuGHln5itr0vA2JMYeSqWsiq278fd-FVA&_nc_oc=AQlSCSkIlsp8AFSnvX7oG7LVPTTVZVwfshK8X26VuDdeC7OZse8RIZEARglwUhSFgZc&_nc_ht=scontent.fbkk3-3.fna&oh=cec0bbbb8a4cec713dbddb3d172506fa&oe=5E079A4D)

                ผศ.สบาย ตันไทย อาจารย์ประจำสาขาวิชาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ คณะเทคโนโลยีการเกษตรมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา (มรภ.สงขลา) เปิดเผยถึงการจัดอบรมเรื่อง การเลี้ยง การเก็บเกี่ยว และการใช้ประโยชน์สาหร่ายผมนางในทะเลสาบสงขลา : ยำสายที่ปักษ์ใต้บ้านเรา ว่า สาหร่ายผมนางมีชื่อเรียกตามลักษณะของสาหร่ายที่เหมือนเส้นผมของผู้หญิงว่า ผมนาง และมีภาษาท้องถิ่นว่า สาย เป็นสาหร่ายทะเลสีแดงที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจที่สำคัญ จัดเป็นอาหารสุขภาพที่มีแหล่งที่อยู่อาศัยในอ่าวปัตตานีและทะเลสาบสงขลา โดยเฉพาะบริเวณเกาะยอ เป็นแหล่งที่เคยมีสาหร่ายผมนางชุกชุมมาก เป็นพื้นที่ที่มีการสืบทอดวัฒนธรรมการนำสาหร่ายผมนางมาใช้ประโยชน์อย่างยาวนาน ทั้งเป็นอาหารคน อาหารสัตว์น้ำ และการทำปุ๋ยพืชบก โดยเฉพาะการใช้เป็นอาหารที่มีรูปแบบเป็นเอกลักษณ์เฉพาะถิ่น

(https://scontent.fbkk3-1.fna.fbcdn.net/v/t1.0-9/69589118_1211692629037394_1042194889778921472_n.jpg?_nc_cat=101&_nc_eui2=AeGp0xpAdtzYkd9_1oo1Iu8z2EmOv6700xw8kDnTgvJDr3YEKgP325KgCm3-7fXFiBfEeye-H5huwjn73yleKgMthD_KEDCw4YECLX4jFBPwNQ&_nc_oc=AQmC5rNt3DE9aKEx0bWSFsjbOECCX6TbXadYs6aoPgzQRS69zWjHf0rEZKxQikM7zsY&_nc_ht=scontent.fbkk3-1.fna&oh=e1aca1797ebd2474805547b660dd1c98&oe=5DCDD753)

               ผศ.สบาย กล่าวว่า ปัจจุบันสาหร่ายผมนางมีปริมาณลดน้อยลง เนื่องจากเกิดการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อม ทั้งโดยธรรมชาติและผลการกระทำของมนุษย์ เป็นผลให้แหล่งที่เกิดสาหร่ายเสื่อมโทรมลงและมีขอบเขตจำกัด เนื่องจากแหล่งน้ำตื้นเขิน น้ำมีความขุ่นสูง และกระแสน้ำไหลแรงขึ้น ส่งผลกระทบต่อวงจรชีวิตและผลผลิตของสาหร่ายอย่างเห็นได้ชัดเจน คณะเทคโนโลยีการเกษตร มรภ.สงขลา ในฐานะสถาบันการศึกษาในท้องถิ่น เล็งเห็นถึงความสำคัญของการเผยแพร่วัฒนธรรม การเลี้ยง และการนำสาหร่ายผมนางมาใช้ประโยชน์อย่างกว้างขวาง จึงจัดอบรมให้ความรู้แก่นักศึกษาของทางคณะฯ จำนวน 100 คน เพื่อส่งเสริมให้เกิดความรู้ในคุณค่าทางอาหาร รู้จักประโยชน์และการนำไปใช้ ช่วยกันดูแลพื้นที่ที่เป็นแหล่งสาหร่ายผมนางในทะเลสาบสงขลา

(https://scontent.fbkk3-1.fna.fbcdn.net/v/t1.0-9/69631327_1211692669037390_8938051114499047424_n.jpg?_nc_cat=101&_nc_eui2=AeEZqf6R8yK6ZEEO7neDent85XNf2kU3PVa0cmazdHRLz2l9qf6nWUUf2gQQ0e3J4hlXd2zx_C5c7r1FGgSkSkgjyy6ETNdDXcAuEK8rLhJ9Tw&_nc_oc=AQlYBg7BC58xR82FxUzBgXuGiTryLhejnvYLJp_brnzQ7SfY1e0p4rFACfU7K-Cndt0&_nc_ht=scontent.fbkk3-1.fna&oh=fb6f2ebe2ff0e2cfa7b306507de46f8d&oe=5DF9F106)

                อาจารย์ประจำสาขาวิชาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ กล่าวอีกว่า นอกจากการให้ความรู้แล้วยังมีการปลูกฝังให้นักศึกษาในฐานะคนรุ่นใหม่ เห็นถึงความสำคัญของศิลปวัฒนธรรมทางการเกษตรที่มีอยู่ในท้องถิ่น โดยได้เชิญวิทยากร รศ.ดร.ระพีพร เรืองช่วย อาจารย์ประจำภาควิชาเทคโนโลยีและการอุตสาหกรรม คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี น.ส.วรรณิษา แสงแก้ว และ น.ส.มัณฑณา ดอนนกลาย นักศึกษาระดับปริญญาโท มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ร่วมถ่ายทอดความรู้ นอกจากนั้น ทางคณะเทคโนโลยีการเกษตร มรภ.สงขลา ยังจัดการแข่งขันสร้างสรรค์เมนูอาหารโดยใช้สาหร่ายผมนาง เพื่อให้นักศึกษามีส่วนร่วมในการสร้างมูลค่าให้กับพืชท้องถิ่นชนิด
นี้


(https://scontent.fbkk3-3.fna.fbcdn.net/v/t1.0-9/69769226_1211692602370730_4008141743521267712_n.jpg?_nc_cat=103&_nc_eui2=AeFb8eZ-qFc3vA0EfO3Zv7hYTfSDLRUKK-mFEVMqh4-DCLnEAcfa8q3hPV2HW3NEjdmL6fgh9emijb1vKsJnwD_upJ8FIcVlhqDbL__daOIuSg&_nc_oc=AQkYxZ-9GgDxiP5C2cXEOAsppXKW8Qlx-oNkq29Wz81WnFDWVlG7mtc4QptrNWq1wYs&_nc_ht=scontent.fbkk3-3.fna&oh=968404b58439d650e0e47f8ce19da3c9&oe=5E14A03C)

(https://scontent.fbkk4-2.fna.fbcdn.net/v/t1.0-9/69477333_1211692655704058_2332316195488792576_n.jpg?_nc_cat=108&_nc_eui2=AeH4bmlUAz3lKLhYhdBUgyoUw3im14bfmQw_6ZUYWMFjzVJGSEctysSMv6xmLA5GEiTkz9MDxTlRg496vyv9p06X5p6wNdp30ma1QZLHXcxEjA&_nc_oc=AQnNK-vBlODaUx9glAGK1rGELib3_BfP1T3eZ6yV9alrRedyYyXHX5ll8X3WGgae_6g&_nc_ht=scontent.fbkk4-2.fna&oh=7d36674d0c4eb1bc2ed772e919f880c0&oe=5DCFB215)

(https://scontent.fbkk4-1.fna.fbcdn.net/v/t1.0-9/69920734_1211692729037384_460031808180846592_n.jpg?_nc_cat=111&_nc_eui2=AeGlIeO7OXlRanUn_FD_EF1yjWw7EsnkmGNquYR6a7d6YTTMpISHNumFt_U9mVt33lQyUoOteqhcVbH_qcz6SYZXQITIc4gJHRFHdgNH2oR2kg&_nc_oc=AQk_gcuzIDYkFa4TSdpA4BK_Q_zuCTxEFj857sdy4jO2lRIJs4vXlI3ye8v852FOJDg&_nc_ht=scontent.fbkk4-1.fna&oh=cc226647f9097bbacbda48640b28e318&oe=5DCF9395)

(https://scontent.fbkk3-3.fna.fbcdn.net/v/t1.0-9/69970992_1211692722370718_7138732341739913216_n.jpg?_nc_cat=104&_nc_eui2=AeEmN1zbeZwrToRHzk4Z3imUmdFAtvrcfTXCyxhh-Ba0ALCXCWtUHV6F9--PJCGzbRBORvyOjI00VEm9REwRJ68eqm58bme7ypYV33o8sKVxIw&_nc_oc=AQkxT1_j2oHpmTXuKkUJ7Kaquu8h_v0Ctn30peBPhmg4ToQCAmbvpvZ6-OnXxtJMzd8&_nc_ht=scontent.fbkk3-3.fna&oh=4ed3be0c4465fb8649b7a07a749c9d7b&oe=5DF94829)

(https://scontent.fbkk3-3.fna.fbcdn.net/v/t1.0-9/69665816_1211692755704048_5056544171007934464_n.jpg?_nc_cat=104&_nc_eui2=AeF8-xoktKvHHgXIpEn-wREJtti_weB8BdCKhteAgWbu4gE57cmhvJRcRixSi5_f7mgPoRzH6l_KLPWBzJ96UHKtV4r0mgH8RwY44GPeS_-6MQ&_nc_oc=AQkfxVjDEDSqqqkA_5A_0Km-W21yHG7AWu9e9T2vFGENYuTkF3NSWzb9CkUFhiPk4kE&_nc_ht=scontent.fbkk3-3.fna&oh=a1764eba9a5490b6bd2654256f6fa54a&oe=5E043DA7)

(https://scontent.fbkk4-3.fna.fbcdn.net/v/t1.0-9/69403668_1211692799037377_2154974874123108352_n.jpg?_nc_cat=100&_nc_eui2=AeFmCswMpU4SqMIVM9azzGca0GCCrEm3U3sTmu3lgLG_oymL97a_18f-rmZD9WdhwT_ehJCtF9LgXNCoJiVAu3AorQcXvZmbim9kaG6JX2MsSw&_nc_oc=AQloExB_ivTlSgaOAwYpvi6Tn7gSJonId4CuoKnPAugRj9BAGIGa9ZFoWBh5dh3E-lA&_nc_ht=scontent.fbkk4-3.fna&oh=9c937d3dbe17867be5d99c3b8a017414&oe=5DD10299)