ศูนย์ข่าวชาวบ้านนิวส์
Khawchawbannews

กระทู้เมื่อเร็วๆ นี้

หน้า: 1 ... 8 9 [10]
91
PFP ร่วมใจบริจาคโลหิตกับ เหล่ากาชาด จังหวัดสงขลา


              บริษัท แปซิฟิคแปรรูปสัตว์น้ำ จำกัด ผู้ผลิตและจำหน่ายอาหารทะเลแปรรูป ภายใต้แบรนด์  PFP ร่วมบริจาคโลหิต กับเหล่ากาชาดจังหวัดสงขลา ทั้งนี้เพื่อนำโลหิตที่ได้จากการร่วมบริจาค ไปช่วยเหลือผู้ป่วยและช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ เมื่อวันที่ 19 มิถุนายน 2562  ณ  บริษัท แปซิฟิคแปรรูปสัตว์น้ำ จำกัด
92
กฟผ. ส่งมอบห้องเรียนสีเขียวเพื่อสร้างสังคมแห่งภูมิปัญญาให้กับโรงเรียนมูลนิธิอิตีซอมวิทยาหวังปลูกฝังเยาวชนเรียนรู้การใช้พลังงานและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอย่างถูกต้อง


กฟผ. นำนวัตกรรมร่วมจัดห้องเรียนสีเขียวให้กับโรงเรียนมูลนิธิอิตีซอมวิทยา จ.สงขลา เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ด้านพลังงานไฟฟ้า พร้อมปลูกฝังเยาวชนเรียนรู้การใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ ปลอดภัย และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม


             วันที่ 28 มิถุนายน 2562 นายบุญฤทธิ์ ศิริปาณี ผู้อำนวยการฝ่ายชุมชนสัมพันธ์โครงการ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) และนานสนอง จันทรักษ์ ร่วมกันเป็นประธานในพิธีเปิดและส่งมอบห้องเรียนสีเขียวให้เป็นสถานที่เรียนรู้ด้านพลังงานไฟฟ้า และเสริมสร้างทัศนคติในการใช้ไฟฟ้าอย่างมีประสิทธิภาพ ปลอดภัยและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยมีนายรอแม เจ๊ะโส๊ะ ผู้อำนวยการโรงเรียนมูลนิธิอิตีซอมวิทยา เป็นผู้รับมอบ พร้อมด้วยคณะครูและนักเรียนเข้าร่วมพิธีและเยี่ยมชมห้องเรียนสีเขียว ณ โรงเรียนมูลนิธิอิตีซอมวิทยา อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา


นางสาวปาวีณา รายอมะ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 กล่าวว่า รู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ทางโรงเรียนได้รับเลือกให้มีห้องเรียนสึเขียว และได้เป็นวิทยากร ทำให้เราได้มีความรู้เกึ่ยวกับพลังงานไฟฟ้า เช่นการผลิตและการประหยัดพลังงานไฟฟ้า ซี่งจากนี้จะนำความรู้ที่ได้รับไปเริ่มใช้ที่ครอบครัวของตัวเองก่อน ส่วนโรงเรียนแห่งไหนหากมีความสนใจในเรื่องพลังงาน ทางโรงเรียนมูลนิธิอิตีซอมวิทยา รวมทั้งตัวเองขอเชิญชวนมาเยี่ยมชมห้องเรียนสีเขียวได้ตลอดเวลา


นายบุญฤทธิ์ ศิริปาณี กล่าวว่า กฟผ. ตระหนักถึงความสำคัญของการศึกษาเรียนรู้ด้านพลังงาน และการใช้พลังงานไฟฟ้าอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้บุคลากรและนักเรียนในโรงเรียน รวมถึงชุมชนโดยรอบมีโอกาสเรียนรู้เรื่องพลังงานไฟฟ้า จึงนำมาสู่การมอบห้องเรียนสีเขียวให้กับโรงเรียนมูลนิธิอิตีซอมวิทยา โดยภายในห้องเรียนได้ติดตั้งชุดสาธิตด้านพลังงานไฟฟ้าและนวัตกรรมการผลิตไฟฟ้า อาทิ ชุดสาธิตการผลิตไฟฟ้าประเภทต่างๆ เทคโนโลยีหลอดไฟและเปรียบเทียบอุปกรณ์ไฟฟ้าชนิดต่างๆ ชุดสาธิตความปลอดภัยจากการใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน และบอร์ดนิทรรศการบ้านอัจฉริยะ เป็นต้น ซึ่งเปิดให้เด็กนักเรียนและชุมชนได้เข้ามาเรียนรู้และนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ภายในครอบครัวและชุมชน อีกทั้งสามารถเป็นสื่อบุคคลในการเผยแพร่สู่สังคมได้อย่างมีประสิทธิภาพ


  “กฟผ. ดำเนินโครงการห้องเรียนสีเขียวมาตั้งแต่ปี 2541 เพื่อเสริมความรู้ด้านพลังงานไฟฟ้าและสร้างอุปนิสัยที่ดีในการอนุรักษ์พลังงานควบคู่กับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม โดยการพัฒนาห้องเรียนสีเขียวเพื่อเป็นศูนย์การเรียนรู้ให้แก่ครู นักเรียน ชุมชนและสังคมโดยรอบ ซึ่งจะสามารถขยายผลเป็นเครือข่ายอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อมได้เป็นอย่างดี ทั้งนี้ ปัจจุบันมีห้องเรียนสีเขียวทั่วประเทศ จำนวนทั้งสิ้น 414 ห้องเรียน โดย กฟผ. มีแผนการพัฒนาอุปกรณ์สื่อสาธิตภายในห้องเรียนสีเขียวให้มีความทันสมัยมากยิ่งขึ้น รวมถึงอบรมวิทยากรแกนนำเกี่ยวกับเทคโนโลยีด้านพลังงานไฟฟ้าและ
การประหยัดพลังงานไฟฟ้า เพื่อให้เยาวชนนำไปขยายผลให้กับครอบครัวและชุมชน อันจะนำไปสู่การสร้างสังคมแห่งภูมิปัญญาด้านพลังงานได้อย่างเป็นรูปธรรม” นายบุญฤทธิ์ ศิริปาณี กล่าวในตอนท้าย




93
ปชส. สงขลา จัดสัมมนาประชาสัมพันธ์การมีส่วนร่วมของประชาชนในการเลือกตั้งท้องถิ่น


               วันที่ 28 มิ.ย 62  ที่โรงแรมต้นอ้อย แกรนด์ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดสงขลา จัดกิจกรรมอบรม สัมมนาการประชาสัมพันธ์การมีส่วนร่วมของประชาชนในการเลือกตั้งท้องถิ่นตามแผนปฏิบัติการประชาสัมพันธ์ โดยมีนายเสน่ห์ รักรงค์ ผู้อำนวนการสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัดสงขลา เป็นวิทยากรให้ความรู้และมีสื่อมวลชนรวมทั้งเครือข่ายประชาสัมพันธ์ เข้าร่วมกิจกรรมกว่า 50 คน


นางมุจรินทร์ ทองนวล ประชาสัมพันธ์จังหวัดสงขลา กล่าวว่า สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดสงขลา กรมประชาสัมพันธ์ เป็นหน่วยงานหลักด้านประชาสัมพันธ์ในระดับจังหวัด ได้จัดการอบรมสัมมนา เพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจ ในการเลือกตั้งระดับท้องถิ่น โดยการสัมมนาในวันนี้ไม่ได้เป็นการสัมมนาทางวิชาการแต่เป็นการสร้างความเข้าใจ สอบถามปัญหา ข้อสงสัย หรือมีส่วนใดที่เป็นข้อห้ามสำหรับการประชาสัมพันธ์ เพื่อจะไปร่วมกันรณรงค์ประชาสัมพันธ์การเลือกตั้งไปอย่างบริสุทธิ์ ยุติธรรม และได้คนดี มีคุณภาพเป็นผู้แทน และให้ผู้มีสิทธิ์ออกไม่ต่ำร้อยละ 80 ในทุกครั้งที่มีการเลือกตั้ง
โดยการเลือกตั้งท้องถิ่น เป็นการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น เข้าไปบริหารงานในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหรือประมาณท้องถิ่น ซึ่งมีผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งดังกล่าว จะเป็นพลเมือง อาศัยอยู่ในเขตปกครองท้องถิ่นตั้งแต่ระดับเมืองหรือจังหวัดต่ำลงมา โดยมีชื่อเรียกในเขตปกครองท้องถิ่นแตกต่างกันไปแต่ละประเทศ ตัวอย่างเช่น องค์กรบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.)องค์การบริหารส่วนตำบล(อบต.) และเทศบาล การเลือกตั้งท้องถิ่นเป็นตัวชี้วัดสำคัญที่แสดงให้เห็นถึงสถานะของผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหรือรัฐบาลท้องถิ่น และยังเป็นเครื่องชี้วัดคุณภาพของประชาธิปไตยในระดับท้องถิ่นได้ไงความหลากหลายมิติ อาทิ การตรวจสอบความสนใจของประชาชนที่มีต่อการเลือกตั้งจากประชาชนในท้องถิ่นว่ามี มีสูงมากเพียงใด โดยเปรียบเทียบได้จากการมีส่วนร่วมในการใช้สิทธิ์เลือกตั้ง ก็ประชาชนในท้องถิ่น







94
เทศบาลนครสงขลา ร่วมกับหน่วยงานในพื้นที่ จัดงานสมโภช 177 ปี เจ้าพ่อหลักเมืองสงขลา ประจำปี 2562 เพื่อกระตุ้นสำนึกรักบ้านเกิด สืบสานวัฒนธรรมและประเพณีท้องถิ่น พร้อมกระตุ้นเศรษฐกิจระดับเมือง สร้างความตระหนักถึงคุณค่าและความสำคัญทางประวัติศาสตร์


               วันที่ 26 มิถุนายน 2562 เวลา 18.00 น. ที่ศาลเจ้าพ่อหลักเมืองสงขลา ถนนนางงาม อําเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา นายวีรนันทน์ เพ็งจันทร์ ผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา เป็นประธานในพิธีเปิดงานสมโภช 177 ปี เจ้าพ่อหลักเมืองสงขลา ประจำปี 2562 พร้อมด้วย ดร.สมศักดิ์ ตันติเศรณี นายกเทศมนตรีนครสงขลา พล.ต.ต.ธรัตน์ จันทรักษ์ ที่ปรึกษานายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา นายประเสริฐ จันทรศิริภาส นายกสมาคมฮกเกี้ยนสงขลา นายสุรพล กำพลานนท์วัฒน์ นายกสมาคมสมาพันธ์ธุรกิจท่องเที่ยวจังหวัดสงขลา หัวหน้าส่วนราชการในพื้นที่และประชาชนชาวสงขลา ร่วมกิจกรรม


ศาลเจ้าพ่อหลักเมืองสงขลา ถือเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองที่มีความเชื่อมโยงมาตั้งแต่อดีตกาลของชาวจังหวัดสงขลา และเป็นศูนย์รวมจิตใจของชาวไทยเชื้อสายจีนทั้งในพื้นที่จังหวัดสงขลาและจังหวัดใกล้เคียง ซึ่งได้ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานของกรมศิลปากร นับจากอดีตถึงปัจจุบัน ทุก ๆ ปีของช่วงเทศกาลตรุษจีนและวันคล้ายวันเกิดของเจ้าพ่อหลักเมืองจะมีการจัดงานเฉลิมฉลอง โดยในปีนี้เทศบาลนครสงขลา ร่วมกับ จังหวัดสงขลา องค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา สมาคมฮกเกี้ยนสงขลา และหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน ร่วมกันจัดงาน “สมโภช 177 ปี เจ้าพ่อหลักเมืองสงขลา” ขึ้น ระหว่างวันที่ 26 มิถุนายน - 2 กรกฎาคม 2562 เพื่อเป็นการร่วมสืบสานวัฒนธรรมและประเพณีท้องถิ่นของชาวไทยเชื้อสายจีนให้คงอยู่สืบไป เป็นการฟื้นฟูการค้าขาย และกระตุ้นเศรษฐกิจระดับเมือง


โดยมีเป้าหมายหลัก เพื่อให้ประชาชนและนักท่องเที่ยวได้มีโอกาสสักการบูชาเจ้าพ่อหลักเมืองสงขลา โดยเฉพาะอย่างยิ่งได้ร่วมกันจัดงานสมโภชศาลเจ้าพ่อหลักเมืองสงขลาปีละ 1 ครั้ง นอกจากนี้ยังเป็นการช่วยสร้างบรรยากาศเมืองสงขลาให้เป็นเมืองวัฒนธรรม ส่งเสริมให้ชาวสงขลามีการฟื้นฟูบ้านเรือนโบราณ เผยแพร่อาหารดั้งเดิม การแสดงศิลปะ ดนตรี ประเพณีต่างๆ ภาพถ่ายและของที่ระลึกที่เป็นเอกลักษณ์ของสงขลา ช่วยส่งเสริมการค้าในย่านเมืองเก่า ผ่านทางกิจกรรมถนนคนเดิน กระตุ้นจิตสำนึกรักบ้านเกิดแก่เยาวชนและประชาชนทั่วไปที่มาเยี่ยมชมงาน ได้รับความรู้เรื่องเมืองเก่าสงขลา สร้างความตระหนักถึงคุณค่าและความสำคัญทางประวัติศาสตร์ โดยภายในงานมีกิจกรรมตามประเพณี ได้แก่ พิธีผูกผ้าเสาหลักเมือง พิธียกเสาโกเต้ง พิธีอัญเชิญพระประทับเกี้ยว พิธีแห่พระรอบเมือง พิธีเวียนเทียนสะเดาะเคราะห์เสริมดวงชะตา พิธีไหว้สมโภชเจ้าพ่อหลักเมือง เนื่องในวันคล้ายวันประสูตินอกจากนี้ยังมีกิจกรรม “อิ่มท้อง อิ่มบุญ 9 ห้อง 9 บาท” ในวันที่ 27 มิถุนายนนี้



ณ ถนนหนองจิก ซึ่งจะมีหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน นำอาหารและเครื่องดื่มมาร่วมจำหน่ายในราคา 9 บาท ซึ่งรายได้ทั้งหมดจะนำไปทำบุญและทำนุบำรุงศาลเจ้าพ่อหลักเมืองสงขลา พร้อมทั้งยังมีกิจกรรมงานถนนคนเดินนางงามยามค่ำคืน กิจกรรมไหว้พระหลักเมือง ชิมของหรอยเมืองบ่อยาง และการแสดงอุปรากรจีน (งิ้ว) ทุกค่ำคืน


ศาลเจ้าพ่อหลักเมืองสงขลา เป็นศาลเก่าแก่ที่อยู่คู่เมืองสงขลามายาวนานถึง 177 ปี ตั้งอยู่บนถนนนางงาม เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์และเป็นศูนย์รวมจิตใจของชาวไทยเชื้อสายจีนทั้งในจังหวัดสงขลาและจังหวัดใกล้เคียง ซึ่งในอดีตเป็นที่อยู่อาศัยและย่านการค้าเก่าแก่แห่งหนึ่งของชาวจีนในจังหวัดสงขลา โดยกรมศิลปากร ได้ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถาน เมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ ปี พ.ศ. 2478 ลักษณะของตัวอาคารเป็นรูปทรงสถาปัตยกรรมแบบเก๋งจีน สร้างขึ้นพร้อมกับการสร้างเมืองสงขลาฝั่งบ่อยาง ในสมัยพระยาวิเชียรคีรี (เถี้ยนเส้ง ณ สงขลา) ผู้สำเร็จราชการเมืองสงขลา สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น ซึ่งภายในศาลเป็นที่ประดิษฐานหลักเมือง ทำด้วยไม้ชัยพฤกษ์ ที่ได้รับพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 ในปี พ.ศ. 2385 โดยทรงพระราชทานไม้ชัยพฤกษ์หลักชัยต้นหนึ่ง และเทียนชัยเล่มหนึ่ง พร้อมด้วยเครื่องไทยทานต่าง ๆ และโปรดเกล้าฯ ให้พระยาวิเชียรคีรี (เถี้ยนเส้ง ณ สงขลา) ได้อัญเชิญหลักไม้ชัยพฤกษ์ลงฝังที่ใจกลางเมืองสงขลา ซึ่งเรียกกันว่า “หลักเมือง”จัดการฝังหลักชัยไว้ที่ใจกลางเมือง เมื่อวันที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2385 จากนั้นได้ให้ช่างสร้างตึกคร่อมหลักเมือง ไว้ 3 หลัง เป็นทรงจีนและสร้างศาลเจ้าเสื้อเมืองอีกหนึ่งหลัง เพื่อความเป็นสิริมงคลแก่เมือง สะท้อนความสำคัญของเมืองสงขลาในฐานะเมืองใหญ่ทางภาคใต้ ที่จะมีความเจริญรุ่งเรืองต่อไปในภายภาคหน้า นอกจากนี้ตามความเชื่อของชาวสงขลาเชื้อสายจีน ได้มีการอัญเชิญองค์เทพศักดิ์สิทธิ์ช่วยปกป้องรักษาเมืองเป็นองค์เจ้าพ่อหลักเมือง มีชื่อว่า “เซ่งห๋องเหล่าเอี๋ย” มาประดิษฐานด้านหลังของหลักเมืองอีกด้วย ศาลเจ้าพ่อหลักเมือง จึงเป็นสถานที่อันสำคัญที่อยู่คู่เมืองสงขลา เป็นศูนย์รวมจิตใจ และเป็นที่เคารพสักการะของชาวไทยทุกเชื้อชาติในจังหวัดสงขลา ตราบจนทุกวันนี้












95
สมาคมสมาพันธ์ธุรกิจท่องเที่ยวจังหวัดสงขลาจัดแถลงข่าว “เทศกาลอาหารหรอย ผลไม้อร่อย หรอยได้ไร้แอลกอฮอล์ และของดีเมืองใต้ ครั้งที่ 8”


               วันที่ 25 มิ.ย.2562 เวลา 17.30 น. ที่ ห้องไกรกาบแก้ว(ชั้น 3) โรงแรมเดอะรีเจนซี่ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา นายวีรนันทน์ เพ็งจันทร์ ผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา ให้เกียรติเป็นประธานในพิธี พร้อมด้วย นายสมหมาย ขวัญทองยิ้ม รองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา นายประพันธ์ ไตรทิพยพงศ์ หัวหน้าฝ่ายป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยรักษาราชการแทนหัวหน้าสำนักปลัดเทศบาลนครหาดใหญ่ พันเอกอภิศักดิ์ พันธุวงศ์ รองเสนาธิการมณฑลทหารบกที่ 42 ,พันตำรวจโท รณน สุระวิทย์ รองผู้กำกับการสถานีตำรวจภูธรหาดใหญ่ นายบุญเลิศ ดำจำนงค์ ปลัดอาวุโสอำเภอหาดใหญ่ นายกิจจา ไวชมภู ท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดสงขลา นางสาวจินตนา สุวรรณรัตน์ ผู้อำนวยการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานหาดใหญ่ นางสาวณัจยา แก้วนุ้ย ผู้ทรงคุณวุฒิ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.) และนายสุรพล กำพลานนท์วัฒน์ นายกสมาคมสมาพันธ์ธุรกิจท่องเที่ยวจังหวัดสงขลา ร่วมการแถลงข่าว “เทศกาลอาหารหรอย ผลไม้อร่อย หรอยได้ไร้แอลกอฮอล์ และของดีเมืองใต้ ครั้งที่ 8” โดยมีหน่วยงานต่าง ๆที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนสื่อมวลชนทุกแขนงเข้าร่วมงานเป็นจำนวนมาก ซึ่งจะมีกำหนดจัดงานขึ้นระหว่างวันที่ 5 – 14 กรกฏาคม 2562 ณ สวนหย่อมศุภสารรังสรรค์ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา


การจัดงาน“เทศกาลอาหารหรอย ผลไม้อร่อยและของดีเมืองใต้ ครั้งที่ 8” ในครั้งนี้ เพื่อเผยแพร่อาหาร ผลไม้ และของดีทั่วภาคใต้ ให้เป็นที่รู้จักโดยเน้นของที่มีคุณภาพ รวมทั้งเป็นการกระตุ้น ฟื้นฟูเศรษฐกิจ และส่งเสริมการท่องเที่ยวของจังหวัดสงขลา ให้ขยายวงกว้างขึ้นสู่สาธารณชนทั้งในและต่างประเทศ ทั้งนี้ ได้รับงบประมาณการจัดงานได้รับจากจังหวัดสงขลา กลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอ่าวไทยประจำปี 2562 จำนวน 2 ล้านบาท ผ่านสำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดสงขลา เทศบาลนครหาดใหญ่ จำนวน 8 แสนบาท องค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา 5 แสนบาท ร่วมกับสมาคมสมาพันธ์ธุรกิจการท่องเที่ยวจังหวัดสงขลา นำมาจัดงาน“เทศกาลอาหารหรอย ผลไม้อร่อยและของดีเมืองใต้ ครั้งที่ 8” นี้ ซึ่งในปีที่ผ่านๆมาได้รับการตอบรับจากนักท่องเที่ยวที่มาร่วมงานทั้งชาวไทยและต่างชาติที่มีจำนวนเพิ่มมากขึ้นทุกปี


นายสุรพล กำพลานนท์วัฒน์ นายกสมาคมสมาพันธ์ฯ กล่าวว่า ไฮไลท์ของงานในครั้งนี้ ได้แก่ การจำหน่ายผลิตภัณฑ์สินค้าจากโครงการหลวง , การจัดมหกรรมอาหารหรอยที่สุดทั่วภาคใต้กว่า 300 เมนู , การจำหน่ายสินค้าโอทอป และของดีเมืองใต้ , การแข่งขันเชฟน้อยตะหลิวทอง (12 และ 14 ก.ค.62 , การประกวดหนูน้อยหรอยจังฮู้ (13 ก.ค.62) , การแข่งขันตำเครื่องแกงลีลาประกอบเพลง (5 ก.ค.62) , การแข่งขันกินผลไม้ , การสาธิตการปรุงอาหารจากเชฟที่มีชื่อเสียง โดย แม่ช้อยนางรำ (8 ก.ค.62) , กิจกรรมคนดังเข้าครัว , ศิลปินจำอวดหน้าม่าน (7 ก.ค.62) ตั๊กแตน ชลดา (10 ก.ค.62) , หรอยชวนชิม จระเข้หันจากทวีชัยฟาร์ม จังหวัดราชบุรี (9 ก.ค.62) , การแข่งขันแทงต้ม (6 ก.ค.62) , การประกวดอาหารพื้นบ้านพื้นถิ่น จ.สงขลา (9 ก.ค.62) , การแข่งขันตำเครื่องแกง (5 ก.ค. 62 ) เมนูพร้อมเสิรืฟพิเศษ เนื้อจระเข้ย่างและกิจกรรมการแสดงบนเวทีอีกมากมาย
















96
PFP ออกบูธโครงการเทศบาลพบประชาชน ประจำปี  2562


       บริษัท แปซิฟิคแปรรูปสัตว์น้ำ จำกัด ผู้ผลิตและจำหน่ายอาหารทะเลแปรรูปภายใต้แบรนด์ PFP เข้าร่วมโครงการเทศบาลพบประชาชน วัตถุประสงค์จัดขึ้นเพื่อให้บริการประชาชนในเชิงรุก ในพื้นที่ 10 หมู่บ้านให้ได้รับความสะดวกจากหน่วยงานภาครัฐ และหน่วยงานเอกชน   ซึ่งในการจัดงานครั้งนี้ พีเอฟพี ร่วมออกบูธสนับสนุนผลิตภัณฑ์เพื่อจัดเลี้ยงแก่ ผู้เข้าร่วมงาน และมอบผ้ากันเปื้อนพร้อมหมวกให้กับผู้เข้าแข่งขันทำอาหาร ภายในงานครั้งนี้ด้วย เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน  2562  ณ  โรงเรียนเทศบาล 1 (บ้านเขาแก้ว)
97
มรภ.สงขลา พัฒนาระบบตรวจวัดปริมาณก๊าซชีวภาพจากขยะอินทรีย์แบบไร้สายคว้ารางวัลบทความวิจัยดีเด่น ช่วยชุมชนลดต้นทุนค่าเครื่องมือลง 10 เท่า



                อาจารย์ มรภ.สงขลา พัฒนาระบบตรวจวัดปริมาณก๊าซชีวภาพจากขยะอินทรีย์แบบไร้สายโดยใช้โหนดเอ็มซียู คว้ารางวัลบทความวิจัยดีเด่น เวที ประชุมวิชาการระดับชาติ เผยช่วยชาวชุมชนตลาดนัดเกาะหมี  ใช้เครื่องมือราคาถูกกว่านำเข้าจากต่างประเทศถึง 10 เท่า


                ดร.กันตภณ มะหาหมัด อาจารย์สาขาวิชาเทคโนโลยีไฟฟ้าอุตสาหกรรม คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา เปิดเผยว่า ตนและทีมวิจัยซึ่งประกอบด้วย ดร.สลักจิตร นิลบวร สาขาวิชาเทคโนโลยีไฟฟ้าอุตสาหกรรม และ ดร.วนิดา เพ็ชร์ลมุล อาจารย์วิทยาลัยนวัตกรรมและการจัดการ มรภ.สงขลา ร่วมกันจัดทำงานวิจัยเรื่อง ระบบตรวจวัดปริมาณก๊าซชีวภาพจากขยะอินทรีย์แบบไร้สายโดยใช้โหนดเอ็มซียู และได้ส่งผลงานเข้าร่วมในเวทีประชุมวิชาการระดับชาติ จัดโดยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ เมื่อวันที่ 19-21 มิถุนายน ที่ผ่านมา ณ โรงแรม Loft mania Boutique Hotel จ.ชุมพร ผลปรากฏว่าได้รับรางวัลบทความวิจัยดีเด่น ซึ่งระบบตรวจวัดปริมาณก๊าซชีวภาพจากขยะอินทรีย์แบบไร้สายฯ ที่จัดทำขึ้นนี้ ช่วยให้คนในชุมชนตลาดนัดเกาะหมี อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา ได้ใช้เครื่องมือวัดก๊าซชีวภาพที่มีราคาต้นทุนเพียง 4,500 บาท ซึ่งถูกกว่าที่นำเข้ามาจากต่างประเทศถึง 10 เท่าตัว ทั้งยังสามารถหาซื้อวัสดุสำหรับการผลิตได้ทั่วไปในร้านค้าอิเล็กทรอนิกส์ ทำให้ช่วยลดค่าใช้จ่ายในการซื้อเครื่องมือจากต่างประเทศได้อย่างมาก 


                ดร.กันตภณ กล่าวว่า ปัญหาขยะนับเป็นปัญหาสิ่งแวดล้อมที่สำคัญและมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและคุณภาพชีวิต สุขภาวะอนามัยของมนุษย์ แนวทางที่สำคัญแนวทางหนึ่งที่ได้รับความสนใจอย่างกว้างขวางคือการผลิตก๊าซชีวภาพจากขยะ ซึ่งนอกจากได้ประโยชน์โดยตรงจากการทำให้ขยะลดลงแล้ว ยังสามารถทำให้ได้พลังงานสะอาดที่นำมาใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวันได้อีกด้วย ซึ่งชุมชนตลาดนัดเกาะหมี เป็นชุมชนหนึ่งที่ประสบปัญหาขยะ เนื่องจากการเติบโตของชุมชนเมืองและพื้นที่ตลาดนัดมีการขยายตัวมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง ปัจจุบันมีพ่อค้า แม่ค้ากว่า 500 ราย จากข้อมูลการจัดเก็บขยะของตลาดนัดพบว่า ในแต่ละวันมีปริมาณขยะราว 3,000 กิโลกรัม โดยแยกเป็นขยะอินทรีย์ ร้อยละ 60 ขยะแห้งร้อยละ 38.33 และขยะอันตรายร้อยละ 1.67 ดังนั้น คณะกรรมการบริหารตลาดนัดจึงได้มีแนวคิดในการจัดการขยะ โดยการผลิตก๊าซชีวภาพจากขยะอินทรีย์ เป็นทางเลือกหนึ่งในการใช้ประโยชน์จากขยะ 


                อย่างไรก็ตาม จากการดำเนินการผลิตก๊าซชีวภาพจากขยะอินทรีย์ยังพบปัญหาในด้านการผลิตก๊าซชีวภาพ ได้แก่ ผู้ดูแลระบบซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของตลาดยังขาดความรู้ในการดูแลระบบผลิตก๊าซชีวภาพ และยังทำงานหลายหน้าที่ในตลาดนัด ทำให้ไม่สามารถติดตามการผลิตได้อย่างต่อเนื่อง และไม่มีข้อมูลสำหรับการวิเคราะห์ผลเมื่อเกิดความผิดปกติกับระบบผลิตก๊าซชีวภาพอีกด้วย ดังนั้น วิธีการแก้ปัญหาคือ การออกแบบเครื่องมือที่จะช่วยติดตามผลการผลิตก๊าซชีวภาพที่สะดวกรวดเร็ว และง่ายต่อการใช้งานสอดคล้องกับเทคโนโลยีในปัจจุบันคือการใช้เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ต โดยพัฒนาระบบตรวจวัดค่าพารามิเตอร์และผลการผลิตก๊าซชีวภาพที่ผลิตได้ให้สามารถแสดงผลไปยังผู้ใช้งานผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตแบบไร้สาย อันจะทำให้ผู้ใช้งานสามารถตรวจสอบผลผ่านสมาร์ทโฟนหรือเครื่องคอมพิวเตอร์ได้อย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง


                “คณะผู้วิจัยเล็งเห็นถึงความจำเป็นในการพัฒนาระบบการติดตามผล เพื่อช่วยในการผลิตก๊าซชีวภาพจากขยะอินทรีย์ของตลาดนัดเกาะหมีที่มีประสิทธิภาพ จึงได้พัฒนาระบบตรวจวัดปริมาณก๊าซชีวภาพจากขยะอินทรีย์แบบไร้สาย ที่จะช่วยตรวจวัดพารามิเตอร์ต่างๆ ในการผลิตก๊าซชีวภาพ และเป็นต้นแบบเครื่องมือวัดก๊าซชีวภาพที่มีประสิทธิภาพในราคาต่ำให้กับชุมชน” อาจารย์สาขาวิชาเทคโนโลยีไฟฟ้าอุตสาหกรรม มรภ.สงขลา กล่าว



98
ทม.คอหงส์จัดโครงการส่งเสริมและสนับสนุนกลุ่มพัฒนาสตรีเพื่อพัฒนาศักยภาพ


               วันพฤหัสบดีที่ 13 มิถุนายน 2562 นายอนันต์ ทองลิ้นจี่ รองนายกเทศมนตรีเมืองคอหงส์ เป็นประธานในพิธีเปิดโครงการส่งเสริมและสนับสนุนกลุ่มพัฒนาสตรีเทศบาลเมืองคอหงส์ กิจกรรมฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาศักยภาพของกลุ่มพัฒนาสตรี ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 13-15 มิถุนายน 2562 (14-15 มิถุนายน 2562 กิจกรรมศึกษาดูงาน ในพื้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราชและพัทลุง) โดยพิธีเปิดมีสมาชิกสภาเทศบาล ปลัดเทศบาล รองปลัดเทศบาล พร้อมด้วยหัวหน้าส่วนราชการ และเจ้าหน้าที่เทศบาลเมืองคอหงส์ เข้าร่วมเป็นจำนวนมาก ณ ห้องประชุมชั้น 3 อาคารอเนกประสงค์บ้านคลองเตย














99
ผบช.กมค.เป็นประธานการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “การเพิ่มศักยภาพการทํางานของท่าเทียบเรือประมงในการตรวจสอบย้อนกลับสัตว์น้ำ”


               วันที่ 20 มิถุนายน 2562 ที่ โรงแรมคริสตัล อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา พล.ต.ท.จารุวัฒน์ ไวศยะ ผู้บัญชาการ สํานักงานกฎหมายและคดี/ ประธานอนุกรรมการตรวจสอบ และติดตามการบังคับใช้กฎหมาย ศูนย์บัญชาการแก้ไขปัญหาการทําการประมงผิดกฎหมาย เป็นประธานเปิดงาน การอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “การเพิ่มศักยภาพการทํางานของท่าเทียบเรือประมงในการตรวจสอบย้อนกลับสัตว์น้ำ”พร้อมด้วย นายอรุณชัย พุทธเจริญ รองอธิบดีกรมประมง กล่าวรายงานมีผู้เข้ารับการอบรมได้แก่ผู้ประกอบการท่าเทียบเรือประมง สมาคมประมง เจ้าหน้าที่กรมประมง ในจังหวัด สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช สงขลา ปัตตานี และนราธิวาส จํานวน 203 คนของการอบรมรุ่นที่ 4 ในระหว่างวันที่ 19-21 มิถุนายน 2562


                พล.ต.ท.จารุวัฒน์ ไวศยะ ผบช.กมค.กล่าวว่าตามพระราชกำหนดการประมง พ.ศ.2558และแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ.2560กำหนดให้ผู้มีความประสงค์จะใช้ท่าเทียบเรือประมงต้องจดทะเบียนต่อกรมประมง และทำบันทึกข้อมูลเรือทุกลำที่ใช้บริการจอดเรือ ขนถ่ายสัตว์น้ำขึ้นเทียบท่าเรือประมงและต้องทำเอกสารกำกับการซื้อขายสินค้าสัตว์น้ำเพื่อจัดเก็บข้อมูลเป็นส่วนที่สําคัญมากที่สุดในระบบตรวจสอบย้อนกลับ ให้ถูกต้องตามหลักธรรมาภิบาล(Good governance)ช่วยป้องกันการทำประมงเกินศักย์และถูกต้องโปร่งใสมีหนังสือกำกับการซื้อขายสินค้าสัตว์น้ำนั้น ไม่ได้มาจากการทําประมงที่ผิดกฎหมาย ขาดการรายงาน และไร้การควบคุม (Illegal Unreported and Unregulated : IUU fishing)


กรมประมงได้มีการพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ ตามนโยบายไทยแลนด์ 4.0 โดยปรับปรุงระบบการรายงานทางอิเล็กทรอนิกส์ของกรมประมง (Thai Flagged Catch Certification System) การใช้งานระบบตรวจสอบย้อนกลับ โดยการจัดทําแบบบันทึกข้อมูล เรือ ขนถ่ายสัตว์น้ำขึ้นเทียบท่าเรือประมงต้องทำแบบสรุปรายวันและต้องทำเอกสารกำกับการซื้อขายสินค้าสัตว์น้ำ(ขนส่งสัตว์น้ำทางรถยนต์)(MCPD)จึงกําหนดจัดการอบรมเชิงปฏิบัติการขึ้น ผู้เข้ารับการอบรม ได้แก่ผู้ประกอบการท่า เทียบเรือประมง สมาคมประมงในพื้นที่ 22 จังหวัดชายทะเล เจ้าหน้าที่กรมประมง และผู้เกี่ยวข้อง จํานวน 864 คน รวมจํานวน 4 รุ่น


โดยรุ่นที่ 1 อบรมที่จ.จำนวน209คน, รุ่นที่ 2 อบรมที่จ.ภูเก็ต จำนวน209คน, รุ่นที่ 3 อบรมที่จ.เพชรบุรีจำนวน243คน และรุ่นที่ 4 อบรมที่อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา ในระหว่างวันที่ 19 – 21 มิถุนายน 2562 (ครอบคลุมท่าเทียบเรือประมงในจังหวัดสุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช สงขลา ปัตตานีและนราธิวาส จํานวน 203 คน)


การอบรมในครั้งนี้ก็เป้าหมายเพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมตระหนักถึงการแก้ไขปัญหาการทําประมงผิดกฎหมาย ขาดการรายงาน และไร้การควบคุม (IUU) มีความรู้ ความเข้าใจ ในแนวทางการปฏิบัติตามระบบตรวจสอบย้อนกลับของ ท่าเทียบเรือประมงภายใต้พระราชกําหนดการประมง พ.ศ. 2558 และที่แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2560 และให้ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับการรายงานทางอิเล็กทรอนิกส์ของกรมประมง (Thai Flagged Catch Certification System) ในการตรวจสอบย้อนกลับอย่างมีประสิทธิภาพ


นอกจากนี้ยังเป็นการขับเคลื่อนแผนการปฏิบัติงานในการแก้ไขปัญหาการทําประมงผิดกฎหมาย ให้บรรลุเป้าหมายที่วางไว้ ตามวัตถุประสงค์ในการอนุรักษ์และบริหารจัดการทรัพยากรประมงให้ใช้ประโยชน์ได้ อย่างยั่งยืน








100
ข่าวการศึกษา / มรภ.สงขลา เปิดบ้านต้อนรับคณะศึกษาดูงาน มรภ.นครปฐม
« กระทู้ล่าสุด โดย system man เมื่อ มิถุนายน 19, 2019, 03:56:48 PM »
มรภ.สงขลา เปิดบ้านต้อนรับคณะศึกษาดูงาน มรภ.นครปฐม



               มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา (มรภ.สงขลา) นำโดย อาจารย์พิเชษฐ์ จันทวี รองอธิการบดีฝ่ายยุทธศาสตร์พัฒนาระบบการบริหารและพัฒนาหน่วยงาน พร้อมด้วยตัวแทนผู้บริหารของมหาวิทยาลัย ร่วมให้การต้อนรับคณะกองบรรณาธิการและคณะทำงานวารสาร Interdisciplinary Research Review (IRR) มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม (มรภ.นครปฐม) ในโอกาสเดินทางมาศึกษาดูงานจังหวัดสงขลา เพื่อเผยแพร่ความรู้การทำวิจัยแบบสหวิทยาการ และประชาสัมพันธ์วารสาร IRR เมื่อวันที่ 17 มิถุนายน ที่ผ่านมา ณ ห้องประชุมสภาฯ อาคารอำนวยการ มรภ.สงขลา





หน้า: 1 ... 8 9 [10]